จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สาระธรรม ๓ การฝึกจิตทำสมาธิ

พุทโธ, ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานใจด้วยธรรม
            "หลักสำคัญของการทำสมาธิที่ถูกต้องเพื่อให้ได้สมาธิที่มีคุณภาพ"
         ก่อนทำสมาธิต้องสวดมนต์แล้วแผ่เมตตา ให้สรรพสัตว์ และตามด้วยการแผ่ส่วนกุศล ให้แก่ผู้ที่อยู่ในโลกทิพย์เพราะพวกเขาได้รับบุญก็ต่อเมื่อมีผู้อุทิศให้เท่านั้น การทำสมาธินั้นมีหลาายแบบ   ๑.นั่งสมาธิ .นอนสมาธิ .ยืนสมาธิ .เดินสมาธิ(เดินจงกรมที่นิยมกันมากที่สุดคือ นั่งสมาธิ เริ่มต้นด้วยการสำรวมกายใจให้ผ่อนคลายมากที่สุด แล้วนั่งเอาเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือซ้ายวางที่ตักเอามือขวาทับมือซ้ายให้ปลายนิ้วชี้ขวาชนกับหัวแม่มือซ้าย แล้วหายใจเข้าให้ลึกที่สุดให้ลึกรู้สึกถึงท้องน้อยอั้นไว้ วินาที แล้วพ่นลมออกทางปากหายลึกๆทำสามครั้ง  หลังจากนั้นก็หายใจปกติ มีสติรู้ที่ลมหายใจ หายใจสั้นรู้หายใจยาวรู้ มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ประคองจิตให้อยู่ภายในไม่ให้จิตวิ่งไปวิ่งมา เพราะจิตจะให้อยู่นิ่งๆนั้นยากจริงๆต้องใช้ความพยายามทำให้จิตนิ่งให้ได้ โดยไม่นึกคิดเรื่องใดๆทั้งสิ้น ตามรู้ลมหายใจ ตามรู้ท้องที่ลมหายใจเข้าพอง ลมหายใจออกยุบ การควบคุมจิตให้นิ่ง ต้องใช้อุบายในการภาวนาโดยลมหายใจเข้าพุทลมหายใจออกโท นับ๑. นับจนถึง๑o แล้วย้อนกลับถอยหลังมาที่๑ ใหม่ นับกลับไปกลับมา  หรือจะใช้สัมมาอะระหัง หรือยุบหนอพองหนอโดยดูที่ท้องเป็นหลัก ให้ทดลองดูชอบแบบไหนก็เลือกภาวนาตามที่ชอบ (พุทโธ, สัมมาอะระหัง, ยุบหนอพองหนอ) จะเหมือนกันไม่มีแตกต่าง  เป็นอุบายในการประคับประคองจิตนำจิตสู่ความสงบ  ต่อไปก็ให้พิจารณาร่างกายพิจารณาอวัยวะของร่างกายเราไปเรื่อย เช่น ผม, ขน,เล็บ,ฟัน,หนัง, เนื้อและอวัยวะภายใน ให้นึกว่าร่างกายเป็นศาลาพักร้อนศาลาพักอาศัย เพียงชั่วคราวเท่านั้นร่างกายเป็นดินน้ำลมไฟ  แท้จริงแล้วไม่ใช่ของเรา พยายามให้จิตนึกเห็นตัวเองให้ชัดเพราะการเห็นตัวให้ชัดนั้นจะเห็นได้ยากจิตไม่คุ้นเคย ให้พิจารณาแยกชิ้นส่วนร่างกายตนเอง ๑.ลอกหนังไว้กองหนึ่ง ๒.แยกเนื้อไว้กองหนึ่ง ๓.เครื่องในตับไตหัวใจไส้ปอดไว้กองหนึ่ง ๔.แยกกระดูกไว้กองหนึ่ง แล้วพิจารณาร่างกายแต่ละกอง แต่ละกองถ้าไว้นานจะเกิดอะไรขึ้น จะเป็นสิ่งที่ไม่น่าดูเลย มีหนอนมีกลิ่นเหม็น การพิจารณาอย่างนี้จิตจะนิ่งและมีสเถียรภาพ นำจิตสู่ความสุขที่แท้จริง การนึกคิดถึงแต่ตนเอง จะทำให้จิตไม่สูญเสียพลังงาน โดยปกติจิตจะอยู่ไม่นิ่ง นึกคิดไปข้างนอก ไปๆมาๆอยู่เรื่อย สิ่งไม่ดีสิ่งที่เป็นอกุศลจะมีพลังสูงในการดึงดูดจิต ทำให้เหนื่อยสูญเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ 


๑.สำรวมกายและใจสร้างความรู้สึก  ให้มีสภาวะที่ผ่อนคลายที่สุด น้อมจิตเข้ามาพิจารณากาย ร่างกายของตนเองมีสติระลึกรู้ กำหนดลมหายใจเข้าออก ตามรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออก มีสติอยู่ทุกขณะ  เพราะสติสำคัญที่สุดจะเป็นกำแพงขวางกั้น  มิไห้จิตออกไปข้างนอก ซึ่งจิตชอบไปหาความคุ้นเคย  ความเคยชิน และสติยังป้องกันการดึงรั้งจากมารร้ายกิเลส ที่ดึงรั้งให้จิตลงต่ำอยู่เรื่อย โดยมีความสุขแบบเทียมๆ เพียงชั่วคราวมาเป็นตัวล่อ เมื่อหลงเข้าไปก็จะได้รับทุกข์ที่ยาวนานภายหลัง ผู้ที่มีอะวิชาผู้ที่ไม่รู้ ไม่สนใจการฝึกจิต จะหลงชอบกับความสุขแบบเทียมๆ ซึ่งเป็นความสุขที่สั้นๆ เมื่อบำบัดเสร็จความสุขก็จะหายไป และความทุกข์ที่ยาวนานก็จะเข้ามาแทนที่ วกวนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ 
๒. การพิจารณากายทั้งกายในคือจิต และกายนอกคือร่างกาย โดยมีสติระลึกรู้อยู่ทุกลมหายใจ ต้องฝึกใช้ความเพียรนึกเห็นตัวเองให้ชัดให้ได้ แล้วพิจารณา ผม,ขน,เล็บ,ฟัน,หนัง, เรื่อยไปยังอวัยวะต่างๆในร่างกายของเรา พิจารณาไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา ความไม่เที่ยง ความตาย เพื่อลดพลังของมารร้าย    มีสติดึงจิตไม่ให้ไหลออกทางประตูทั้ง มี ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ, ๖ประตูนี้ที่มารร้ายจะเข้ามาดึงจิต ของเราออกไปเป็นทาสของมัน จะมาในรูปเป็นสิ่งที่มากระทบ  ตาหูจมูกลิ้นกายใจ  เมื่อมีสิ่งที่มากระทบตาหูจมูกลิ้นกายใจ ต้องมีสติรู้ ว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนั้น เท่านั้น ต้องไม่นึกคิดปรุงแต่งต่อเติม ใดๆทั้งสิ้น เพื่อจะได้ไม่เป็นทาสของมารร้าย นี้เป็นจุดวิกฤตที่สุดเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก ต้องมีสติรู้ต้องเพียรพยายาม ดึงรั้งจิตเอาไว้ให้ได้ ไม่ให้ไหลออกทางประตูทั้ง ๖ โดยการคิดอุบายขึ้นมาเป็นตัวช่วย โดยการกำหนดลมหายใจเข้าออก   หรือภาวนาลมหายใจเข้าพุท ลมหายใจออกโธมีสติรู้ทุกขณะ  หรือสัมมาอาระหัง ยุบหนอพองหนอ   ซึ่งเป็นอุบายอย่างหนึ่งเพื่อป้องกัน ไม่ให้จิตออกไปข้างนอก ทางประตูทั้ง๖ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ซึ่งเป็นประตูไปสู่หลุมปฏิกูล(นรก)เป็นหลุมพรางกับดัก ที่ธรรมชาติสร้างไว้ ดักจับผู้ที่ไม่ฝึกจิตพัฒนาใจ    เพื่อให้สติตั้งมั่นควบคุจิตให้อยู่ในที่ที่กำหนด ให้นึกคิดแต่เพียงภายในเท่านั้น นึกแต่ตัวเรานึกให้เห็นตัวเรา  จิตนั้นคล้ายๆกับน้ำซึ่งเป็นได้สามสถานะเป็นของเหลว  เป็นของแข็ง เป็นก๊าซและต้องการที่อยู่ ถ้าไม่มีที่อยู่ที่ดีให้จิต  จิตก็จะไปหาที่อยู่ข้างนอก ในที่คุ้นเคย ที่เคยชิน ให้สังเกตดูเวลานึกถึงคนอื่น จะนึกเห็นภาพได้ชัด นี้คือความคุ้นเคยของจิต แต่พอมานึกคิดให้เห็นตัวเราเอง   นึกให้เห็นหน้าตัวเอง กลับมืดนึกไม่เห็น    จึงต้องสลับมานึกคิดให้เห็นตัวเองให้ชัดให้ได้  เมื่อจิตมีที่อยู่ภายในที่ดีๆ ความนิ่งความสงบ ความสุขที่แท้จริงก็จะเกิดขึ้น
.การมีศีลที่บริสุทธิ์มีส่วนช่วยฝึกจิต ให้เข้าถึงธรรมได้เร็วยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนเดินทางไปบนถนนลาดยาง ทำให้ถึงที่หมายได้เร็วขึ้น ผู้ที่เป็นนักบวชที่ถือศีลบริสุทธิ์มีความเพียรเป็นเยี่ยม การเข้าถึงธรรมเป็นของแน่นอน  ส่วนผู้ที่มีศีลไม่ค่อยบริสุทธิ์  ก็เหมือนเดินทางไปบนถนนลูกรัง ทำให้ถึงที่หมายได้ช้า
     *หมายเหตุ.. เมื่อทำสมาธิถ้านึกคิดพิจารณาร่างกายตัวเอง นึกให้เห็นตัวเอง จะป้องกันการเกิดภาพลวงภาพหลอน สิ่งลวงต่างๆที่ทำให้รู้สึกกลัว การทำสมาธิถึงขั้นที่จิตละเอียด   ก็จะรับและเห็นสิ่งที่ละเอียด ละเอียดได้ สิ่งที่เห็นนั้นอาจเป็นเทวดาชั้นต่ำ แสดงเป็นสิ่งที่น่ากลัวเพื่อหยอกล้อ มนุษย์เล่นพอมนุษย์กลัวพวกเขาจะชอบใจ ขณะนั่งสมาธิถ้าเห็นสิ่งที่น่ากลัว "ให้นึกว่นั้นคือสิ่งลวงไม่ใช่ของจริง" ตั้งมั่นพิจารณาร่างกายตนเองเป็นสำคัญ พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง  

๔. การเดินจงกรมหรือการทำสมาธิแบบเดิน มีหลักการดังต่อไปนี้  ยืนอย่างสำรวมมือซ้ายทับที่สดือมือขวาจับที่ข้อมือซ้าย เท้าห่างกันเล็กน้อย  ยกส้นเท้าขวาให้นับ ก้าวเท้าขวาให้นับ ขณะนับสองให้ลอยเท้าอยู่ประมาณ2วินาที   แล้วตามด้วยปลายเท้าขวากดลงนับ ส้นเท้ายังยกอยู่ ส้นเท้าขวากดลงนับ๔ แล้วยกส้นเท้าซ้ายให้นับ ก้าวเท้าซ้ายให้นับ ปลายเท้าซ้ายกดลงนับ๓ส้นเท้ายังยกอยู่ แล้วส้นเท้าซ้ายกดลงนับ๔     ให้กำหนดสติอยู่ที่เท้า รู้สึกตัวทั่วพรอม เดินอย่างมั่นคงเดินอย่างช้าๆที่สุด ผู้ที่เดินจงกรมจะได้รับอนิสงฆ์ดังนี้ อดทนต่อการเดินทางไกลเมื่อจำเป็นต้องเดินด้วยเท้า  อดทนต่อความเพียร  อาการเจ็บป่วยมีน้อยความอ่อนเพลียจะไม่มี  อาหารย่อยได้ดี  ทำให้เกิดสมาธิได้ดีมาก. 
๔. การทำสมาธิแบบยืน : ให้กำหนดจิตอยู่ที่ฝ่าเท้าหรือตามแต่ความถนัดของแต่ละคน สร้างความรู้สึกให้ผ่อนคลายมากที่สุด สติตั้งมั่น มีสติรู้ที่ขาทั้งสองเพื่อไม่ให้ล้ม พิจารณาอวัยวะในร่างกายตัวเอง ให้พิจจารณาเส้นผม ลงมาที่ต้นคอลงมาตามกระดูกสันหลัง พิจารณากระดูกสันหลังแต่ละข้อ แต่ละข้อพิจารณาไปจนถึงนิ้วเท้าเล็บเท้า มีสติรู้จิตอยู่ทุกขณะ จิตคิดเรื่องเก่า  คิดเรื่องใหม่ก็รู้อยู่ตลอด เพียงแต่รู้เท่านั้นไม่คิดปรุงแต่งต่อเติมใดๆ ถ้ามีอาการเอียงๆเหมือนจะล้ม ก็ให้ลืมตาดูแล้วเริ่มใหม่ สร้างความรู้สึกให้มีความปิติ มีความสุขในการยืน การทำสมาธิแบบยืนจะทำได้ยากที่สุด แต่สมาธิที่ได้จะมีคุณภาพ การยืนทำสมาธิยังเป็นการพิสูจน์ ความแข็งแรงทั้งกายและใจ ของผู้ปฏิบัติได้เป็นอย่างดี การทำสมาธิแบบยืนและแบบเดิน จะทำให้มีสมาธิได้ดี และมีสมาธิอย่างมีคุณภาพ  เมื่อมีความสงบเกิดขึ้นอย่างแท้จริงแล้ว จึงค่อยนั่งทำสมาธิต่อไป การที่จะทำให้จิตถึงความสงบจะต้องใช้สติรู้ ประคองดูแลเอาใจใส่อย่างมาก ผู้ที่มีความเพียรปฏิบัติพัฒนาจิตอย่างจริงจัง  จนจิตละเอียดอ่อน สงบได้อย่างแท้จริง จิตก็จะเห็นดวงธรรม มีปัญญารู้แจ้ง.

การทำสมาธิจิตเป็นการสร้างบุญบารมี  จะได้รับอานิสงส์ดังนี้ :
๑.อานิสงส์ เพื่อสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดขึ้น ทั้งภพนี้และภพหน้า
๒.เพื่อจิตใจที่สว่างผ่อนปรนจากกิเลส  ปล่อยวางได้ง่าย
๓.จิตใจจะรู้วิธีแก้ปัญหาชีวิตโดยอัตโนมัติ
๔.ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองไม่มีวันอับจน
๕.ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพกายและจิตแข็งแรง
๖.เจ้ากรรมนายเวรและญาตมิตรที่ล่วงลับจะได้บุญกุศล *เพราะว่าผู้ที่อยู่ในโลกทิพย์ต้องการบุญ ที่ผู้เจริญจิตภาวนาอุทิศให้จะเป็นที่ต้องการของพวกเขาอย่างมาก../      

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ19 ธันวาคม 2553 เวลา 00:11

    โครงการนี้ดีมาก อยากให้มีอีกในตอนปิดเทอม

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ19 ธันวาคม 2553 เวลา 00:14

    อยากให้จัดโครงการนี้ในตอนปิดเทอม ภาคฤดูร้อน
    เด็กลำภูรา

    ตอบลบ