จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559

คำสอนพุทธศาสนา

|| ตรวจสอบคำสอนพุทธศาสนา ||

กฏอิทัปปัจจยตา สัจธรรม กฏธรรมชาติ
อิมัสมิง สะติ อิทัง โหติ                 เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
อิมัสสุป ปาทา อิทัง อุปัชชะติ       เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
อิมัสมิง อะสะติ อิทัง นะโหติ         เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ       เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป

                 พุทธศาสนา สอนไว้ว่า
       สิ่งทั้งหลาย เป็นระบบธรรมชาติอันเดียวกัน  เป็นไปตามเหตุปัจจัย มีความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเป็นผล  อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นก็กระทบกันหมด  มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้จึงประเสริฐ  เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มนุษย์ที่ฝึกตนดีแล้วย่อมประเสริฐสุด   หลักการในพระพุทธศาสนา    ก็คือความจริงที่มีในธรรมชาติ พอได้หลักการแล้ว ก็หาทางให้มนุษย์ได้ประโยชน์จากหลักการ คือตัวความจริงในธรรมชาติ  เพราะความจริงของธรรมชาตินั้น ครอบงำชีวิตของมนุษย์อยู่  และเราก็อยู่ในกฏของธรรมชาติ   ถ้าเราทำถูกต้องตามกฏธรรมชาติ ผลดีก็เกิดแก่ชีวิตของเรา  ถ้าเราทำไม่ถูกผลร้ายก็เกิดขึ้นตามมา  

พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ค้นพบสัจธรรม หลักการแห่งความจริงตามธรรมชาติ จึงได้วางหลักการไว้ ดังนี้
         พระพุทธศาสนา จึงมีธรรมกับวินัย เป็นคู่กัน  
ธรรม  คือตัวหลักการความแห่งจริงตามธรรมชาติที่ค้นพบ และ จะเอามาใช้ประโยชน์
วินัย   คือการจัดตั้ง  วางระบบ  วางรูปแบบ เป็นสังฆะ สังคม เป็นชุมชน  เพื่อจะให้หลักการแห่งความจริงของธรรมชาติ  ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง