จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ธรรมะบรรยาย_พระธรรมคำสอน_รู้ตื่นเบิกบาน



  ข้ามพ้นความเชื่อสู่ความรู้อันบริสุทธิ์
   การฟังธรรมะและศึกษาพระธรรมคำสอน  ขอให้ข้ามพ้นความเชื่อหรือไม่เชื่อไปก่อน  ให้ถือว่าศึกษาไว้เป็นความรู้ ไม่ได้บอกให้เชื่อ แต่ฟังไว้เป็นความรู้..    ก่อนเชื่อสิ่งใดให้พิสูจน์       ก่อนพูดให้ยั้งคิดวินิจฉัย "


link   รวมพืชบำบัดขจัดโรค
linkธรรมะบรรยาย รู้กายรู้ใจสู่รู้แจ้ง.Mp3  
link   VDOคลิปสาระธรรม  
link  VDOคลิปท่านพุทธทาสบรรยายธรรม๑ 
link   VDOคลิปหลวงพ่อพุทธทาสบรรยายธรรม 
link  ธรรมะบรรยายฟังแล้วได้บุญ รู้ตื่นเบิกบาน   
link    ธรรมะบรรยาย๑ ทางสลายทุกข์Mp3 
link    รวมธรรมะบรรยายพระอาจารย์หลายรูปMp3

{วงจรชีวิต }
   องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบ  ชีวิตเกิดได้ รูปแบบ  
๑.เกิดในครรภ์   .เกิดในไข่  ๓.เกิดในเถ้าไคล เกิดในสิ่งสกปรก ซากเน่าเปื่อย  ๔.เกิดแล้วโตทันที เรามองไม่เห็น  แต่คนที่ฝึกจิตอยู่ในระดับสูงแล้วคนที่เข้าถึงตาภายในเขามองเห็น เช่นการเกิดของเทวดา เปรต สัตว์นรก    ถ้ายังไม่หมดกิเลสเวลาสัตว์ไปเกิดมีทางไป ๕ ทาง คือ เทวดา  มนุษย์  สัตว์เดรัจฉาน  เปรต  สัตว์นรก   ( ตร แปลว่า สาม ,วัฏ แปลว่า วนเวียน, สงสาร แปลว่า เดินทาง ท่องเที่ยวไป )  กิเลสเป็นตัวบังคับให้ทำกรรม  แล้วมีผลของกรรมเรียกว่า วิบาก กิเลสนี้มีอยู่ในใจของสรรพชีวิตมานานแล้ว  การมาเกิดของคนแต่ละคนนั้นผู้ที่มาเกิดจะมีบุญมีกรรมในอดีตที่ผ่านมา  ใกล้เคียงกันกับของพ่อแม่ จึงจะมาเข้าท้องเกิดได้ 


อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ อย่าง
๑.ทรงสั่งสอนเพื่อจะให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริง ในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น ๒.ทรงสั่งสอนมีเหตุที่ผู้ฟังอาจตรอง ตามความเห็นจริงได้  ๓.ทรงสั่งสอน เป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติย่อมได้ประโยชน์ โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ
   
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนด้วยน้ำพระทัยบริสุทธิ์ เปิดเผย เพื่อให้รู้จริงเห็นจริง ให้ใฝ่ทางสุจริต เว้นทุจริต พระธรรมคำสอนสมบูรณ์ด้วยเหตุผล  พิจารณาไตร่ตรองย่อมเห็นจริง ย่อมเกิดประโยชน์ตามสมควร แก่ผู้ประพฤติปฏิบัติตาม  เป็น อกาลิโก ปฏิบัติเมื่อใดได้ผลเมื่อนั้น ไม่จำกัดกาล./  

{แนวการทำให้รู้แจ้งตามหลักวิชา ๕ แนว}:
 (๑) การทำให้รู้แจ้ง ; ๑.สีลวิสุทธิ, ความหมดจดแห่งศีล  ๒.จิตตวิสุทธิ, ความหมดจดแห่งจิต  ๓.ทิฏฐิวิสุทธิ,ความหมดจดแห่งความเห็น
(๒)การทำให้รู้แจ้ง ; กังขาวิตรณวิสุทธิ,ความหมดจดแห่งความรู้ เป็นเครื่องข้ามความสงสัย
(๓)การทำให้รู้แจ้ง ;มัคคามัคคณ ทัสสวิสุทธิ, ความหมดจดแห่งความรู้ ความเห็นว่าเป็นทางหรือไม่ใช่ทาง
(๔)การทำให้รู้แจ้ง ; ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ,ควมหมดจดแห่งความรู้ความเห็นทางปฏิบัติ ; (มี ๙ ข้อย่อย) ๑.อุทยัพ พยนุปัสสนาญาณ,เห็นความเกิด ความดับสลาย ๒.กังคานุปัสสนาญาณ, เห็นความดับสลายโดยส่วนเดียว   ๓.ภยตุปัฏฐานญาณ,เห็นภาวะทั้งหลายเต็มไปด้วยความหน้ากลัว   ๔.อาทีนวนุปัสสนาญาณ, เห็นความเต็มไปด้วยโทษ ทุกข์ภัย ๕.นิพพิทานุปัสสนาญาณ,เห็นความเบื่อหน่าย ในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง  ๖.มุญจิตุกัมมยตาญาณ,ความรู้ซึ่งทำให้เกิดความใคร่ อย่างแรงกล้าที่จะพ้นทุกข์  ๗.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ, ความรู้ทางพ้นทุกข์นั้นๆ  ๘.สังรุเปกขาญาณ, ความรู้เป็นเครื่องปล่อยวางเฉย   ๙.สัจจานุโลมิกญาณ,ความรู้แก่การรู้ อริยสัจจ์  
(๕)การทำให้รู้แจ้ง ;ญาณทัสสนวิสุทธิ, ความหมดจดแห่งความรู้  ความเห็นที่ถูกต้อง รู้อริยมรรค รู้อริยผล./

สิ่งที่้เป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี ๓ อย่าง (๑)ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน  (๒)สีลมัย      บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล  (๓)ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา../ อิทธิบาท คือคุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔อย่าง (๑)ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น พอใจในหน้าที่พอใจในสิ่งที่มีอยู่.  (๒)วิริยะ เพียรหมั่นประกอบในสิ่งนั้นปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเพียร. ()จิตตะ เอาจิตฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระเอาใจใส่พัฒนาให้เจริญ. ()วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้นเพื่อพัฒนาให้เจริญปราณีตยิ่งขึ้น./ พรหมวิหาร ๔เมตตากรุณามุฑิตาอุเบกขา ()เมตตา ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเ็ป็นสุขเจริญ ()กรุณา ความสงสารคิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ()มุฑิตา ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีชื่นชมยินดีกับผู้ที่ได้ดีมีสุข ()อุเบกขา ความวางเฉยไม่ดีใจเสียใจเมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ วางเฉยทำใจเป็นกลางได้./


  สติปัฏฐาน ๔ กายานุปัสสนา,เวทนานุปัสสนา,จิตตานุปัสสนา, ธัมมานุปัสสนา, ()กายานุปัสสนา   สติกำหนดพิจารณากายเป็นอารมณ์ว่า กายนี้สักว่ากายเท่านั้น รู้ว่ากายเท่านั้นไม่นึกคิดปรุงแต่งต่อ./() เวทนานุปัสสนา   สติกำหนดเวทนา คือสุข ทุกข์และอุเบกขาเป็นอารมว่า เวทนานี้สักว่าเวทนาเพียงรู้เท่านั้นไม่นึกคิดปรุงแต่งต่อ./ ()จิตตานุปัสสนา   สติกำหนดพิจารณาใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ว่า ใจนี้สักว่ารู้ว่าใจเท่านั้นไม่นึกคิดปรุงแต่งต่อ./ ()ธัมมานุปัสสนา  สติกำหนดพิจารณาธรรมที่เป็นกุศล หรืออกุศลซึ่งเกิดกับใจเป็นอารมณ์ว่า ธรรมนี้สักว่าธรรม รู้ว่าธรรมเท่านั้นไม่นึกคิดปรุงแต่งต่อ./
        
 สติปัฏฐาน แปลว่า สติที่ตั้งเป็นประธาน ใช้สติพิจารณาให้รู้เท่าทันว่า กายก็ดี สุขและทุกข์อุเบกขาก็ดี  ใจก็ดี ธรรมอื่นที่เป็นกุศล หรืออกุศลก็ดี  เป็นเพีบงสมมติเป็นอย่างหนึ่งๆ ไม่ใช่เขาไม่ใช่เรา ไม่จีรัง เมื่ออุบัติขึ้นมาแล้ว ล้วนเสื่อมสลายเหมือนกันหมด./   ธาตุกัมมัฏฐาน๔ ธาตุ๔  ()ธาตุดิน เรียกว่าปฐวีธาตุ   ()ธาตุน้ำ  เรียกว่าอาโปธาตุ   ()ธาตุไฟ  เรียกว่าเตโชธาตุ   ()ธาตุลม   เรียกว่าวาโยธาตุ   คำว่าธาตุ ได้แก่ สิ่งที่แยกออกไปอีกไม่ได้  ความพร้อมมูลรวมกันปรองดองกันแห่งธาตุทั้ง ๔ เป็นร่างกาย  ทำให้เกิดอำนาจสำคัญเรียกว่า "มโน "แปลว่าใจ  ใจมีวิถี ๕วิถี  คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย  การพิจารณาร่างกายแยกออกเป็นส่วนๆ  ทำลายขันธสัญญา คือความสำคัญเห็นว่าเป็นก้อนเสียได้ให้เห็นเป็น ดินน้ำลมไฟ มาประชุมกัน ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา  อย่างนี้ เรียกว่าธาตุกัมมัฏฐาน./    อริยสัจ๔  มี ()ทุกข์  คือความไม่สะบายกาย ไม่สะบายใจ สิ่งที่ทนได้ยาก  ()สมุทัย  คือเหตุให้ทุกเกิด ได้แก่ตัณหาต่างๆทั้งกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา   ()นิโรธ  คือความดับทุกข์  คือดับตัณหาทั้งมวลโดยสิ้นเชิง  ()มรรค  คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์    มรรคเป็นทางแห่งการดับทุกข์  ประกอบด้วยองค์แปด มี ()ปัญญาอันเห็นชอบ  ()ดำริชอบ   ()เจรจาชอบ  ()ทำการงานชอบ  ()เลี้ยงชีวิตชอบ  ()เพียรชอบ   ()ตั้งสติชอบ   ()ตั้งใจชอบ ต้องมีองค์ประกอบทั้งแปดนี้จึงจะไปสู่มรรคได้../  
     
เวสารัชชกรณธรรม คือ ธรรมที่ทำให้เกิดความกล้าหาญ ๕อย่าง  ()สัทธา  เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อใช้สติพิจารณาด้วยเหตุแห่งควรเชื่อ  มีเหตุผล ไม่งมงาย   ()ศีล  รักษากายวาจาให้เรียบร้อย ทำตนให้เ็ป็นคนมีระเบียบวินัย  ()พาหุสัจจะ  ความเป็นผู้ศึกษามาก พยายามศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ และต้องให้รู้จริง  ()วิริยารัมภะ  ปรารภความเพียรมีความเพียรพยายาม  มุ่งมั่นไม่หวั่นต่ออุปสรรค  ()ปัญญา  รอบรู้ในสิ่งที่ควรรู้ วิทยาการใดอันเป็นประโยชน์แก่ตน พึงขวนขวายใช้สติปัญญาศึกษาให้รอบรู้จริง../


  พละ คือธรรมเป็นกำลัง ๕อย่าง : ๑.สัทธา ความเชื่อ  ๒.วิริยะความเพียร  ๓.สติ ความระลึกได้ ๔.สมาธิ ความตั้งใจมั่น   ๕.ปัญญา ความรอบรู้ เหล่านี้เป็นใหญ่ในกิจของตน  พละ แปลว่ากำลัง  บุคคลผู้ประกอบกิจการใดๆ จะต้องมีกำลังจึงจะประสบความสำเร็จ  ผู้ปฏิบัติธรรมจะบรรลุผลอันไพบูลย์ได้  ก็จำต้องมีกำลัง อันประกอบด้วยความเชื่อ  ความเพียร ความระลึกได้ ความตั้งมั่น และความรอบรู้./


   นิวรณ์ ๕ ธรรมอันกั้นจิต ไม่ให้บรรลุความดี เรียกนิวรณ์ มี๕อย่าง   ๑.กามฉันทะ พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจ
๒.พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น  ๓.ถีนมิทธะ ความมีจิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม  ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ฟุ้งซ่านและรำคาญ   ๕.วิจิกิจฉา  ลังเลตกลงใจไม่ได้.. นิวรณ์๕เป็นเครื่องปิดกันไม่ให้บรรลุคุณความดี  เมื่อเกิดนิวรณ์๕ ขึ้นควรใช้ธรรมเป็นเครื่องแก้เป็นอย่างๆ ไป  คือ เจริญกายคตาสติแก้กามฉัทะ, เจริญเมตตาแก้พยาบาท, เจริญพุทธคุณแก้ถีนมิทธะ,เพ่งสิณแก้อุทธัจจกุกกุจจะ  เจริญธาตุกัมฐานแก้วิจิกิจฉา,  เมื่อจิตปลอดจากนิวรณ์ทั้ง๕ รักษาให้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์ ชื่อว่าสมาธิอันเป็นปทัฏฐาน เพื่อคุณธรรมเบื้องสูงต่อไป./   


ขันธ์ ๕  กายกับใจแบ่งออกเป็น ๕กอง เรียกว่าขันธ์๕  คือ ๑.รูป   ๒.เวาทนา   ๓.สัญญา ๔.สังขาร   ๕.วิญญาน,  ธาตุ ๔คือ   ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  ประชุมกันเป็นกาย  เรียกว่า รูป,   ความรู้สึกอารมณ์ว่าเป็นสุข  คือสบายกายสบายใจ  หรือเป็นทุกข์ คือไม่สบายกายไม่สบายใจ  หรือเฉยๆ ไม่ทุกข์ไมสุข  เรียกว่า เวทนา,  ความจำได้หมายรู้ คือ จำรูป เสียงกลิ่นรส โผฏฐัพพะ อารมณ์ที่เกิดกับใจได้ เรียกว่า สัญญา,  เจตสิกธรรมคือ  อารมณ์ที่เกิดกับใจเป็นส่วนดี     เรียกกุศล  เป็นส่วนชั่วเรียก อกุศล  เป็นส่วนกลางๆไม่ดีไม่ชั่ว เรียกอัพยากฤต  เรียกว่าสังขาร, ความรู้อารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตา เป็นต้น เรียกว่าวิญญาณ  ขันธ์๕ย่นลงมาเหลื่อสองอย่าง เรียกว่านามรูป,   เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมเข้าเป็นนาม,  ส่วนรูปก็คงยังเป็นรูป.. ขันธ์ ๕ คือกอง ๕ ได้แก่  รูป  เวทนา  สัญญา สังขาร  วิญญาณ, ๑.รูป, แปลว่า ธรรมชาติที่ฉิบหายด้วย วิโรธิปัจจัย(ปัจจัยที่ขัดแย้ง หรือเป็นข้าศึกต่อกัน) มีร้อนเกินประมาณเย็นเกินประมาณ  ๒.เวทนา,แปลว่า ความเสวยอารมณ์เป็นสุขบ้างทุกข์บ้าง  อุเบกขาบ้าง.. ๓.สัญญา, แปลว่า ความจำ  จำได้หมายรู้ ๔.สังขาร, แปลว่า ปรุงแต่ง ได้แก่ความคิดที่เกิดกับใจ   ๕.วิญญาณ, แปลว่า ความรู้แจ้ง ได้แก่ความรู้แจ้งในอารมณ์ที่มากระทบนัยตา เป็นต้น../


อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ หรืออินทรีย์๖,   อายตนะ คือ เครื่องรู้และสิ่งรู้ เป็นเหมือนสะพานเป็นตัวเชื่อม, อายตนะภายใน คื่อเครื่องรับรู้, อายตนะภายนอกคือ สิ่งที่รู้,... ตาหูจมูกลิ้นกายใจคืออายตนะภายใน  เป็นเครื่องรับรู้อายตนะภายนอก  คือ ตาได้เห็น  หูได้ยิน   จมูกได้กลิ่น  ลิ้นได้รส  กายได้สัมผัสถูกต้อง  ใจได้นึกคิด../


อายนะภายนอก๖ คือ รูป  เสียง  กลิ่น  รส, โผฏฐัพพะ คืออารมณ์ที่มาถูกต้องกาย, ธรรมารมณ์คืออารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจ,  รูปเสียงกลิ่นรส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์เป็นอายตนะภายนอก  เป็นสิ่งที่รู้ได้ด้วยอายตนะภายใน../


วิญญาณ ๖ มี ๑.อาศัยรูปกระทบในตาเกิดความรู้ขึ้น เรียกจักขุวิญญาณ ๒.อาศัยเสียงกระทบหูเกิดความรู้ขึ้น เรียกโสตวิญญาณ  ๓.อาศัยกลิ่นกระทบจมูก เกิดความรู้ขึ้น เรียก ฆานวิญญาณ  ๔.อาศัยรสกระทบลิ้น เกิดความรู้ขึ้น เรียกชิวหาวิญญาณ  ๕.อาศัยโผฏฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้น เรียกกายวิญญาณ  ๖.อาศัยธรรมเกิดกับใจ เกิดความรู้ขึ้น เรียกมโนวิญญาณ../


ผัสสะ๖ อายตนะภายใน มีนัยน์ตาเป็นต้น  อายตนะภายนอกมีรูปเป็นต้น  วิญญาณมีจักขุวิญญาณ เป็นต้น  กระทบกันเรียกสัมผัส มีชื่อตามอายตนะภายในเป็น ๖ คือ  จักขุสัมผัส,  โสตสัมผัส,  ฆานสัมผัส,  ชิวหาสัมผัส,  กายสัมผัส,  มโนสัมผัส, ผัสสะได้แก่ การกระทบถูกต้องหรือความประจวบกันแห่งธรรม ๓ประการ คือ อายตนะภายใน  อายตนะภายนอก และวิญญาณ เมื่อมาประจวบกันเรียกว่าผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์เกิดสุขได้  พึงสำรวมอายตนะภายในไม่ อย่าให้ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ จึงจะไมเกิดทุกข์../ 


เวทนา ๖  สัมผัสนั้นเ็ป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา  เป็นสุขบ้างทุกข์บ้าง มีชื่อตามอายตนะภายในเป็น ๖ คือ ๑จักขุสัมผัสชาเวทนา  ๒โสตสัมผัสสชาเวทนา  ๓ฆานสัมผัสสชาเวทนา  ๔ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา  ๕กายสัมผัสสชาเวทนา  ๖มโนสัมผัสสชาเวทนา  เมื่ออายตนะภายใน อายตนะภายนอก  และวิญญาณประจวบกันเรียกว่าผัสสะ  ผัสสะทำให้เกิด  เวทนา สุขบ้าง ทุกข์บ้าง  ไม่สุข ไม่ทุกข์บ้าง ความชอบใจพอใจในผัสสะนั้น เป็นสุขเวทนา  ถ้าไม่พอใจในผัสสะนั้นก็เป็นทุกข์เวทนา  ถ้าเป็นกลางๆ คือวางเฉยไม่รู้สึกยินดียินร้าย  ก็เป็นอุเบกขา../

ธาตุ ๖ มี ๑.ปฐวีธาตุ คือธาตุดิน  ๒.อาโปธาตุ คือธาตุน้ำ  ๓.เตโชธาตุ คือธาตุไฟ  ๔.วาโยธาตุคือธาตุลม  ๕.อากาศธาตุ คือช่องว่างที่มีในกาย  ๖.วิญญาณธาตุ  คือความที่รู้อะไรๆ ได้  ธาตุ  แปลว่า สิ่งที่เป็นมูลเดิมวึ่งคงที่,  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม มาประชุมกันเป็นร่างกาย  ภายในร่างกายมีธาตุอีก ๒ ธาตุ คือช่องว่างตามร่างกายที่มี  อากาศอยู่  เช่นช่องหู  ช่องจมูก   เรียกว่าอากาศธาตุ   เป็นธาตุที่กำหนดรู้ได้ยาก  เพราะเป็นของละเอียดแต่อาจรู้ได้ด้วยสัมผัส,   ความรู้อะไรได้ซึ่งเกิดจาก  ความพร้อมมูลแห่งธาตุทั้ง ๔ เรียกว่า วิญญาณธาตุ../

อริยทรัพย์ ๗  ทรัพย์ คือคุณความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ  เรียก อริยทรัพย์  มี ๗ อย่าง คือ    ๑.สัทธา,  สิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อโดยได้ตริตรองเหตุผลโดยถ่องแท้แล้ว     ๒.ศีล รักษากายวาจาให้เรียบร้อย  มี อาคาริยศีล ศีล๕  ศีล๘  กรรมบท๑0 เป็นศีลของคฤหัสถ์  และอนาคาริยศีล ศีล๒๒๗   เป็นศีลของบรรชิต     ๓.หิริ, ความละอายต่อบาปทุจริต    ๔.โอตตัปปะ, สดุ้งกลัวต่อบาปทุจริต เกรงกลัวภัยที่เกิดจากการทำบาป      ๕.พาหุสัจจะ, ความเป็นคนเคยได้ยินได้ฟังมาก คือทรงจำธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก  เพียรศึกษาหาความรู้  มีจาคะยอมสละแบ่งปันของตนแก่ผู้ควรให้  และมีปัญญา../  

โพชฌงค์ ๗  มี  ๑.สติ, ความระลึกได้    ๒.ธัมมวิจยะ(ธรรมวิจัย)ความสอดส่องธรรม    ๓.วิริยะ,ความเพียร    ๔.ปีติ, ความอิ่มใจภูมิใจ    ๕.ปัสสัทธิ, ความสงบใจและอารมณ์  ๖.สมาธิ,ความตั้งใจมั่น   ๗.อุเบกขา, ความวางเฉย   เรียกตามประเภทว่า สติสัมโภชฌงค์ ไปโดยลำดับ  จนถึงอุเบกขาสัมโภชฌงค์  โพชฌงค์ แปลว่า องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้  มีสติรอบคอบแล้วเลือกเฟ้นธรรม เพื่อตังหนาบำเพ็ญเพียร   ถ้ากายใจอ่อนก็เพิ่มกำลังให้ด้วย ปีติ   ถ้ากำเริบมากไปก็ตักำลังด้วย ปัสสัทธิให้คงอยู่แต่พอดี  จนไม่ต้องพยุงหรือข่ม เป็นส่วนสมาธิแล้วเพ่งดูด้วยอุเบกขา  แม้บำเพ็ญได้ถูกต้องครบถ้วน  ก็จะสำเร็จคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่../


มรรคมีองค์  ๘,ทางดำเนินไม่เหลือแห่งทุกข์  แก้กรรม ดับกรรมให้หมดสิ้นไป } มี   ๑.สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจสี่   ๒.สัมมาสังกัปปะ  ดำริชอบ คือดำริจะออกจากกาม  ดำริในอันไม่พยาบาท  ดำริในอันไม่เบียดเบียน   ๓.สัมมาวาจา เจรจาชอบ  คือเว้นจากวจีทุจริตสี่   .สัมมากัมมันตะ  ทำการงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริตสาม  .สัมมาอาชีวะ  เลี้ยงชีวิตชอบ คือเว้นจากความเลี้ยงชีวิตโดยทางผิด   .สัมมาวายามะ  เพียรชอบ คือเพียรในที่ สี่สถาน   ๗.สัมมาสติ ระลึกชอบ  คือระลึกในสติปัฏฐานสี่  ๘.สัมมาสมาธิ  ตั้งใจไว้ชอบ  คือเจริญญาณทั้งสี่   ในองค์มรรคทั้ง ๘นั้น เห็นชอบ  ดำริชอบ  สงเคราะห์เข้าในปัญญาสิกขา,  วาจาชอบ  การงานชอบ  เลี้ยงชีวิตชอบ สงเคราะห์เข้าในสีลสิกขา,    เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจไว้ชอบ สงเคราะไว้ในจิตสิกขา,  มรรค  แปลว่า ทาง  หรือหนทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์   เรียกอีกอย่างว่า มัชฌิมาปฏิปาทา ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง  เป็นหนึ่งในอริยสัจ ๔  ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ  และทำให้พระองค์ตรัสรู้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า../


มละ คือ มลทิน  ๙ อย่าง  : มี  โกรธ   ลบหลู่บุญคุณท่าน  รัษยา  ตระหนี่    มายา   มักอวด   พูดปด    ปรารถนาลามก    เห็นผิด   มลทิน๙อย่างนี้เป็นเเครื่องเศร้าหมอง  ทำให้ไม่ปลอดโปร่ง  ไม่เจริญก้าวหน้า   พึงกำจัดมลทินดังนี้  โกรธกำจัดด้วยเมตตากรุณา,   ลบหลู่บุญคุณท่าน กำจัดด้วยกตัญญูกตเวที,   ริษยากำจัดด้วยมุทิตาจิต,   ตระหนี่กำจัดด้วยจาคะ    มายากำจัดด้วยความจริง,    มักอวดกำจัดด้วยอัตตัญญุตา,     พูดปดกำจัดด้วยวจีสัจ,    ปรารถนาลามกกำจัดด้วยสันโดษ,    เห็นผิดกำจัดด้วยสัมมาทิฏฐิ,../


 อกุศลกรรมบท  ๑0  :    ที่จัดเป็นกายกรรม(คือทำด้วยกาย) มี ๓อย่าง  ๑.ปาณาติบาต  ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง คือฆ่าสัตว์    .อทินนาทาน  ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ  ไม่ให้ด้วยอาการขโมย   ๓.กาเมสุมิฉาจาร  ประพฤกติผิดในกาม,    ที่จัดเป็นวจีกรรม(คือทำด้วยวาจา)  มี ๔อย่าง    ๔.มุสาวาท  พูดเท็จ    .ปิสุณาวาจา  พูดส่อเสียด   .ผรุสวาจา พูดคำหยาบ    .สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ      ที่จัดเป็นมโนกรรม(คือทำด้วยใจ) ๓อย่าง     ๘.อภิชฌ า  โลภอยากได้ของเขา     .พยาบาท ปองร้ายเขา    ๑0.มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดเป็นชอบ เห็นผิดจากคลองธรรม    กรรม ๑0อย่างนี้  เป็นทางบาป  ไม่ควรดำเนินไม่ควรปฏิบัติ  พึงกำจัดให้ออกจากใจ   อกุศลกรรมบถเป็นทางนำบุคคลผู้ประพฤกติไปสู่ทุคติ   มีชีวิตอยู่ในโลกก็ได้รับผลชั่วต่างๆ  มีเสื่อมลาภ  เสื่อมยศ  เสื่อมชื่อเสียง  หรืออาจถูกจองจำ  เมื่อสิ้นชีวิตไปก็จะไปสู่ทุคติ../


กุศลกรรม ๑0 อย่าง : จัดเป็นกายกรรมสามอย่าง..๑.ปาณาติปาตา เวรมณี, เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ล่วง     ๒.อทินนาทานา เวรมณี, เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย     .กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี, เว้นจากประพฤติผิดในกาม     จัดเป็นวจีกรรม ๔ อย่าง.. .มุสาวาทา เวรมณี, เว้นจากพูดเท็จ      ๕.ปิสุณายะ วาจายะ เวรมณี, เว้นจากพุดส่อเสียด     ๖.ผรุสายะ วาจายะ เวณมณี, เว้นจากพุดคำหยาบ     ๗.สัมผัปปลาปา เวรมณี, เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ     จัดเป็นมโนกรรมสามอย่าง.. .อนภิชฌา,  ไม่โลภอยากได้ของเขา     .อพยาบาท, ไม่พยาบาทปองร้ายเขา     ๑0.สัมมาทิฏฐิ, เห็นชอบตามคลองธรรม      กรรม ๑0 อย่างนี้ เป็นกุศลกรรม เป็นทางบุญผู้ประพฤติปฏิบัติย่อมประสบความเจริญ และไปสู่สุคติ../


บุญกริยาวัตถุ ๑0 อย่าง :  ๑.ทานมัย,  บุญสำเร็จด้วยการบริจากทาน ทำให้เกิดปีติอิ่มเอิบใจภูมิใจ   .สีลมัย, บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล ทำให้เยือกเย็นสุขุม    ๓.ภาวนามัย, บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา ทำให้เกิดปัญญา    ๔.อปจายนมัย, บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตนแก่ผู้ใหญ่ ทำให้ได้รับความเอนดู   .เวยยาวัจจมัย, บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจ ที่ชอบ ทำให้ได้รับความนับถือเกิดความสามัคคี  ๖.ปัตติทานมัย, บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ ทำให้ใจกว้างปราศจากอคติ    ๗.ปัตตนุโมทนามัย, บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ เกิดชื่นชมโสมนัสยินดีปรีดา  ๘.ธัมมัสสวนมัย, บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม ทำให้รู้แจ้งเห็นจริง    .ธัมมเทสนามัย, บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม ทำให้ผู้อื่นมีความรู้ย่อมได้รับความยกย่องสรรเสริญ   ๑0.ทิฏฐุชุกรรม, การทำความเห็นให้ตรง ทำให้ประพฤติได้ถูกต้องคลองธรรม../


นาถการณธรรมคือธรรม ทำที่พึ่ง ๑0 อย่าง : ๑.สีล, รักษากายวาจาให้เรียบร้อย   .พาหุสัจจะ, ความเป็นผู้ได้สดับรับฟังมาก   .กัลยาณมิตตา, ความเป็นผู้มีเพื่อนดีงาม  .โสวจัสสตา, ความเป็นผู้ว่าง่าย    .กิงกรณีเยสุ ทักขตา, ความขยันเอาใจใส่ในกิจธุระของผู้อื่น   .ธัมมกามตา, ความใคร่ในธรรม   .วิริยะ, เพียรละความชั่วประพฤติความดี   .สันโดษ, ยินดีด้วยผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่นอน นั่งและยาตามมีตามได้  .สติ, จำการที่ทำและตคำที่พูดแล้ว แม้นานแล้วก็ยังจำได้  ๑0.ปัญญา, รอบรู้ในกองสังขารตามเป็นจริง   นาถกรณธรรม ๑0 เป็นพระพุทธประสงค์ที่ จะให้เ็นที่พึ่งแห่งบุคคล../


กถาวัตถุ คือถ้อยคำที่ควรพูด ๑0 อย่าง : ๑.อัปปิจกถา, ถ้อยคำที่ชักนำให้มีการปรารถนาน้อย   ๒.สันตุฏฐิกถา, ถ้อยคำที่ชักนำให้สันโดษยินดี ด้วยปัจจัยตามมีตามได้   .ปวิเวกกถา, ถ้อยคำที่ชักนำให้สงัดกายสงัดใจ   ๔.อสังสัคคกถา, ถ้อยคำที่ชักนำไม่ไห้ระคนด้วยหมู่   ๕.วิริยารัมภกถา, ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร  ๖.สีลกถา, ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล   .สมาธิกถา, ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้สงบ  ๘.ปัญญากถา,ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา   ๙.วิมุตติกถา, ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลส   ๑0.วิมุตติญาณทัสสนกถา, ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความเห็นในความที่ ใจพ้นจากกิเลส  กถาวัตถุหรือถ้อยคำที่ควรพูดทั้ง ๑0 ข้อเมื่อนำไปปฏิบัติล้วนเกิดคุณประโยชน์ ทำให้เป็นที่รักใคร่เคารพนับถือ เป็นที่ยำเกรง../


อนุสสติ คือธรรมที่ควรระลึก ๑0 อย่าง : ๑.พุทธานุสติ, ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า   ๒.ธัมมานุสสติ, ระลึกถึงคุณของพระธรรม  ๓.สังฆานุสสติ,ระลึกถึงคุณของพระสงค์(พระอริยะสงค์)   ๔.สีลานุสสติ, ระลึกถึงศีลของตน  ๕.จาคานุสสติ, ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว   .เทวตานุสสติ, ระลึกคุณที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา   .มรณสติ, ระลึกถึงความตายที่จะมาถึงตน   .กายคตาสติ, ระลึกทั่วไปในกายให้เห็นว่า ไม่งามน่าเกลียดโสโครก   .อานาปานสติ, ตั้งสติกำหนดลมหายในจเข้าออก   ๑0.อุปสมานุสติ, ระลึกถึงคุณพระนิพพานซึ่งเป็นที่ระงับกิเลส และกองทุกข์  อนุสสติ ๑0 ประการนี้ เป็นกุศลอย่างสูง จัดเข้าในฝ่ายวิปัสสนาธุระ แม้ผู้บำเพ็ญจะยังไม่ได้บรรลุมรรคผล ก็ชื่อว่ามีอุปนิสัยติดต่อไปในภพหน้า ได้ชื่อว่าบำเพ็ญฝ่ายกุศลส่วนสมถภาวนา../


อุปกิเลส คือโทษเครื่องเศร้าหมอง ๑๖ อย่าง : .อภิชฌาวิสมโลภะ, ละโมบไม่สม่ำเสมอคือความเพ่งเล็ง  ๒.โทสะ, ร้ายกาจ  ๓.โกธะ, โกรธ  .อุปนาหะ, ผูกโกรธไว้  .มักขะ, ลบหลู่คุณท่าน  ๖.ปลาสะ, ตีเสมอ คือยกตนเทียมท่าน  ๗.อิสสา, ริษยา คือเห็นเขาได้ดีทนอยู่ไม่ได้  ๘.มัจฉริยะ, ตระหนี่  ๙.มายา, มารยา คือเจ้าเล่ห์  ๑0.สาเถยยะ, โออวด  ๑๑.ถัมภะ, หัวดื้อ  ๑๒.สารัมภะ, แข่งดี  ๑๓.มานะ, ถือตัว  ๑๔.อติมานะ, ดูหมิ่นท่าน  ๑๕.มทะ, มัวเมา   ๑๖.ปมาทะ, เลินเล่อ    เมื่อเกิดอุปกิเลสขึ้นในใจ พึงกำจัดเสีย  ท่านให้ปลดเปลื้องออกเป็นข้อๆ เช่นถ้าละโมบก็ไม่ละโมบ  ถ้าโกรธก็ไม่โกรธ../


โพธปักขิยธรรม ๓๗ ประการ : มี  สติปัฏฐาน ๔    สัมมัปปธาน ๔     อิทธิบาท ๔    อินทรีย์  ๕    พละ  ๕   โพชฌงค์ ๗   มรรคมีองค์  ๘  โพธิปักขิยธรรม แปลว่า ธรรมเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้  คือรรมีท่เกื้อกูลแก่ความตรัสรู้   นำผู้ปฏิบัติให้บรรลุมรรคผล และนิพพาน.. นี้คือ พระอภิธรรม 


ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ปัจจุบัน ๔ อย่าง : ๑. อุฏฐานสัมปทา,  ถึงพร้อมด้วยความหมั่นในการประกอบกิจเลี้ยงชีวิตก็ดี  ในการทำธุระหน้าที่การงานของตนก็ดี    ๒.อารักขสัมปทา,  ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือ รักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่น ไม่ให้เป็นอันตรายก็ดี  รักษาการงานของตัวไม่ให้เสื่อมเสียไป   ๓.กัลยาณมิตตตา, ความมีเพื่อนเป็นคนดีไม่คบคนชั่ว   ๔.สมชีวิตา, ความเลี้ยงชีวิตตามสมควร แก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก.. ความประสบผลสำเร็จในอาชีพการงาน  ความมีฐานะร่ำรวย มีเกียรติ มียศ ชื่อว่าประโยชน์ในปัจจุบัน  ผู้ปฏิบัติตามธรรม ๔ ข้อนี้ คือ ขยันหา  รักษาดี  มีกัลยาณมิตร ใช้ชีวิตพอเพียง ย่อมประสบผลสำเร็จ ( คาถาหัวใจเศรษฐี.. อุ   อา กะ  สะ 


สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ภายหน้า ๔ อย่าง : ๑.สัทธาสัมปทา, ถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือเชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ  ๒.สีลสัมปทา,ถึงพร้อมด้วยศีล คือรักษากาย วาจาเรียบร้อยดีไม่มีโทษ   ๓.จาคสัมปทา, ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน  เป็นการเฉลี่ยความสุขให้แก่ผู้อื่น  ๔.ปัญญาสัมปทา, ถึงพร้อมด้วยปัญญา  รู้จักบาปบุญคุณโทษ  รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์... มนุษย์สมบัติ  สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ เรียกว่า ตัวประโยชน์ในภายหน้า  บุคคลผู้บำเพ็ญธรรม  ๔ ประการนี้ จะพึงประสบสุคติในภบหน้า../


สังคหวัตถุ ๔  : ๑.ทาน, ให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน  ๒.ปิยวาจา, เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน  ๓.อัตถจริยา,  ประพฤติสิ่งที่เ็ป็นประโยชน์  ๔.สมานัตตตา,  ความเป็นผู้มีตนเสมอไม่ถือตัว คุณทั้ง ๔ อย่างนี้  เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจของผู้อื่นไว้ได้.. ผู้ประพฤติธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมสามารถสามัคคีให้แน่นแฟ้น เป็นผู้มีบริษัทบริวารมาก../


มิจฉาวณิชชา : คือการค้าขายไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง  ๑.ค้าขายเครื่องประหาร   ๒.ค้าขายมนุษย์   ๓.ค้าขายสัตว์เป็น และเนื้อสัตว์ที่ตัวฆ่าเป็นอาหาร  ๔.ค้าขายน้ำเมา   ๕.ค้าขายยาพิษ... การค้าขาย ๕ อย่างนี้เป็นข้อห้ามอุบาสก อุบาสิกาไม่ให้ประกอบ  ผู้ถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง   พึงเว้นการค้าขายไม่ชอบธรรมดังกล่าว   จัดเป็นมลทินในทางศาสนา../ 









ส่งเสริมพระธรรมคำสอน



การสร้างบุญสร้างสุขให้แก่ตนเอง

ข้อปฏิบัติประจำวันเพื่อเพิ่มบุญให้กับตนเอง
(๑)ข้อผิดพลาดในอดีตลืมให้หมด  (๒)ความชั่วบาปอกุศลใหม่ ไม่ทำอีก  (๓)ทำดีแล้วให้ตามนึกถึงบ่อยๆ  (๔)ทำความดีใหม่เป็นประจำทุกๆ วันตลอดไปจนกลายเป็นนิสัย (๕)นั่งสมาธิเป็นประจำทุกวัน เพื่อให้จิตผ่องใสจิตจะมีพลัง./


  เริ่มต้นด้วยการทำจิตใจให้ปลอดโปร่งโล่งเบา  ใจสดใสเบิกบาน ด้วยการฝึกจิตอยู่ตลอดเวลา สร้างที่อยู่ให้แก่จิตธรรมชาติของจิต  จะอยู่ไม่นิ่งเคลื่อนไหวเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา จิตก็คล้ายกับน้ำไหลลงต่ำได้ง่ายสำหรับผู้ที่ไม่ฝึกจิต และจิตก็คล้ายกับไฟฟ้า  ซึ่งเป็นพลังงานที่เป็นตัวกลางที่มีพลังงานมหาศาล  พร้อมที่จะขับเคลื่อนอุปกรณ์ไฟฟ้า ได้อย่างหลากหลาย เช่นถ้าต้องการความเย็นก็เอาไฟฟ้าต่อเข้าตู้เย็น  ต้องการความร้อนก็เอาไฟฟ้าต่อเข้าเตาอบก็จะได้ความร้อน เป็นการเปรียบเทียบระหว่างจิตกับไฟฟ้า    การสร้างบุญสร้างสุขให้แก่ตนเอง ด้วยการกำหนดที่อยู่ให้จิตอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก ลมหายใจสัมผัสร่างกายที่รูจมูกเป็นจุดแรก ลมหายใจมีค่าเท่ากับชีวิต ให้นึกอยู่ตลอดเหมือนการหายใจ ใช้คำภาวนา พุทโธ นึกให้จิตเกาะอยู่ที่พุทโธ  ฝึกนึกคิดเพียงหนึ่งเดียวสิ่งเดียวเพื่อสกัดสิ่งเศร้าหมอง สิ่งกวนใจต่างๆ ทำทีละกิจคิดทีละอย่าง จะส่งผลดีต่อการทำงานหรือทำกิจต่างๆ จะมีประสิทธิที่ภาพถูกต้องแม่นยำไม่ผิดพลาด ถ้าทำงานใดทำสิ่งใดๆอยู่ ก็ให้นึกคิดอยู่กับสิ่งที่ทำเพียงสิ่งเดียว เป็นการมีสติเหมือนมีตัวช่วยป้องกันความผิดพลาด  ให้มองสิ่งต่างๆเป็นธรรมดา เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เป็นไปตามเหตุปัจจัย ฝึกนึกคิดทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ อยากทำแต่สิ่งที่สร้างสรรค์ ตื่นตัวอยู่เสมอ มีสติ ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ อย่าให้เวลาล่วงผ่านไปเปล่าๆ เป็นคนมีวินัยและเคร่งครัดในวินัย  อยู่กับสมุติอย่างรู้ทันไม่หลงไม่ตกเป็นทาส  ไม่เอาทุกข์มาทับถมตนที่ไม่เป็นทุกข์  ไม่ละสุขที่ชอบธรรม  แม้สุขที่ชอบธรรมก็ไม่ติดเพลิน และเพียรปฏิบัติให้เข้าถึงสุขที่ปราณีตยิ่งขึ้น../