จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พุทโธ ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม "พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตพัฒนาชีวิตให้เจริญได้จริง"




 
พระณรงค์เดช มหาเตโชภิขุ 
หัวใจของพระ:ไม่ละเมิดกติกา รักษามารยาท บิณฑบาตเลี้ยงชีวิต เพ่งพินิจปัจจัยก่อนใช้สอย.. เป็นอยู่อย่างสำรวมดูแล้วน่าศรัทธา   
พระต้องมีสภาพจิตที่มั่นคงสูงต้องมองสิ่งต่างๆเป็นธรรมดาเป็นสิ่งที่หน้าเบื่อหน่าย :
มองหญิงงามให้เป็นซากศพเน่าพอง ภาพสยองพาตัณหาหายมลายไป....
* ท่าทีของพุทธศาสนาต่อความจริงหรือต่อสัจธรรม     หลักการทางพุทธศาสนา เราไม่ดูเฉพาะท่าทีที่แสดงออก ต่อผู้อื่นหรือสิ่งอื่นเท่านั้น แต่ดูท่าทีต่อสิ่งที่ตัวเองแสวงหา หรือสิ่งที่ตัวเองแสดงด้วย คือท่าทีต่อสิ่งที่เรียกว่า"ธรรมะ" เรื่องของศาสนามีสิ่งหนึ่งที่เราต้องการคือ "ความเป็นสากล" สากลนั้นมี ๒อย่าง ๑.สากลที่ยอมรับกันเป็นส่วนมากส่วนใหญ่ เช่นเสื้อผ้าชุดสากล ภาษาอังกฤษยอมรับกันทั่วโลกว่าเป็นภาษาสากล  ๒.สากลที่เป็นสัจจะธรรมความจริง ที่ไม่เข้าใครออกใคร ไม่ว่าอยู่ที่ไหนมันก็เป็นอย่างนั้น คือเป็นสากลตามธรรมชาติ ตามธรรมดา เช่นเป็นมนุษย์ต้องกินอาหาร และต้องมีเครื่องนุ่งห่มตามความจำเป็นไม่ขึ้นอยู่กับรูปแบบใดๆ  พุทธศาสนามีท่าทีต่อความจริง หลักความจริง คือกฏธรรมชาติก็คงอยู่อย่างนั้น ความจริงมีอยู่ตามธรรมดาของมัน ไม่ขึ้นต่อองค์พระศาสดา พระศาสดามีฐานะเป็นผู้ค้นพบ และเมื่อค้นพบความจริงด้วยปัญญาแล้ว ก็มาบอกมาเปิดเผยความจริงนั้นแก่มนุษย์ทั้งหลาย เพื่อให้รู้เข้าใจความจริงนั้น แล้วจะได้ปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายได้ถูกต้องตามความจริงนั้น อันจะทำให้การดำเนินชีวิต และกิจการทั้งหลายของมนุษย์ บังเกิดผลเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง  ด้วยท่าทีพื้นฐานนี้ คือไม่ถือเอาความจริงและหลักการต่างๆจะเป็นสิ่งที่ศาสดาตั้งเอาเองตามที่พอใจ และความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายดำเนินไปตามกฏธรรมชาติ ไม่มีใครจะมาเป็นผู้วินิจฉัยพิพากษาตัดสิน มนุษย์เราจึงต้องรู้เข้าใจความจริงนั้น เพื่อจะปฏิบัติได้ถูกต้อง  ท่าทีทั่วไปของพุทธศาสนาจึงเป็นท่าทีแห่งปัญญา และในเมื่อปัญญาเป็นสิ่งที่จะต้องพัฒนาขึ้นในตัวมนุษย์แต่ละคน จะจับใส่ยัดให้หรือบังคับให้เกิดขึ้นไม่ได้  พุทธศาสนาจึงมีท่าทีทั่วไปอีกอย่างหนึ่งตามมา คือเปิดโอกาศแก่ทุกคนในการคิดพิจารณา และเชิญชวนให้ใช้ปัญญา เรียกว่าเสรีภาพทางความคิด ในการกล่าวสอนหรือประกาศแสดงนำเสนอหลักการต่างๆ พุทธศาสนาก็จะมีท่าทีเป็นกลางๆ แบบเสนอให้พิจารณาและให้คิดตัดสินใจด้วยตนเอง  พุทธศาสนาจึงไม่พูดว่า พุทธศาสนาจะเอาอย่างนั้นจะเอาอย่างนี้ เมื่อความจริงเป็นอย่างนี้และเมื่อผลเป็นอย่างนี้ จะเกิดจากการทำเหตอย่างนี้ มนุษย์เราควรเลือกเอา หรือควารปฏิบัติในเรื่องนั้นๆอย่างไร จากความจริงที่เป็นอย่างนี้ ถ้ามนุษย์ต้องการผลดีก็ต้องปฏิบัติอย่างนี้ ถ้าท่านปฏิบัติอย่างนี้ผลดีก็เกิดขึ้น ท่านจะเห็นด้วยและปฏิบัติไหม? หลักการพุทธศาสนาเป็นหลักการที่เป็นสากล พุทธศาสนามีท่าทีในการแสดงความจริง ซึ่งถือว่าความจริงเป็นของกลางๆ ไม่เข้าใครออกใคร พุทธศาสนาจึงพูดเป็นกลางๆ ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นอย่างนี้  เช่นพูดว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ว่ามันจะอยู่ที่ไหนมันก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย เช่นสอนว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หรือการทำดีเป็นเหตุให้ไปสวรรค์ การทำชั่วเป็นเหตุให้ไปนรก คือถือว่าตัวการทำดีและการทำชั่ว เป็นเหตุให้ได้รับผลต่างกันโดยตัวของมันเอง  เป็นเรื่องธรรมดาของระบบเหตุปัจจัย ผลกับเหตุตามมากันเองเพราะว่าการทำเหตุก่อให้เกิดผลเอง เหตุทำให้เกิดผลผลก็เกิดจากเหตุ  ศาสดามาแสดงความจริงและแนะนำตามความจริงนั้น แต่ความจริงก็เป็นของมันอย่างนั้น ไม่ขึ้นต่อศาสดา ไม่ต้องแยกว่าศาสนาไหนศาสดาใด.

"พุทธศาสนามุ่งให้เชื่อมั่นในตนเองเป็นสำคัญโดยใช้
สติปัญญาพิจารณาไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนรอบคอบ"
           พุทธศาสนากับหลักความเชื่อ :  เปิดโอกาศ เสรีภาพทางความคิดอย่างเต็มที่  เพื่อเข้าถึงความจริงด้วยวิธีการทางปัญญาอย่างแท้จริง
"ความในกาลามะสูตรมีดังต่อไปนี้
           สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า(พระพุทธเจ้า)...เสด็จถึงเกสปุสตนิคม  ถิ่นของชาวกาลามะ  พวกกาลามะชาวเกตปุสตนิคมได้ทราบ...
จึงไปเฝ้าพระผู้มีภาคเจ้า...กราบทูลว่า
     สมณพราหมณ์พวกหนี่ง  มาถึงเกตปุสตนิคมนี้ พูดเชิดชูแต่หลักคำสอนของตน พร้อมกับพูดข่มขี่ดูถูกหลักคำสอนของพวกอื่น  ครั้นสนมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมาถึงเกสปุตตนิคม...(ก็พูดอย่างเดียวกันนั้นอีก) พวกข้าพเจ้าจึงมีความสงสัยคลางแคลงใจว่า ในบรรดาสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า เป็นการสมควรแล้วที่ท่านทั้งหลายจะสงสัยจะแคงใจ ความสงสัยของท่านหลายเกิดขึ้นในเหตุที่ควรสงสัย "ท่านผู้เป็นชาวกาลามะทั้งหลาย ทั้งหลาย
๑. อย่าปลงใจเชื่อ   โดยการฟังตามกันมา
๒. อย่าปลงใจเชื่อ  โดยการถือสืบๆ กันมา  
๓. อย่าปลงใจเชื่อ   โดยการเล่าลือ
๔. อย่าปลงใจเชื่อ   โดยการอ้างตำรา
๕. อย่าปลงใจเชื่อ   โดยตรรก
๖. อย่าปลงใจเชื่อ   โดยการอนุมาน
๗. อย่าปลงใจเชื่อ  โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
๘. อย่าปลงใจเชื่อ  เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน
๙. อย่าปลงใจเชื่อ  เพราะมองเห็นรูปลักษณะท่าทางน่าเชื่อ
๑o.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
เมื่อท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า สิ่งเหล่านี้ไม่เกื้อกูล ...ใครยึดถือปฏิบัติแล้วจะเป็นไปเพื่อความเสียหาย เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้นท่านหลายพึงละเสีย./
     เมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า สิ่งเหล่านี้เป็นของเกื้อกูล...ใครยึดถือปฏิบัติแล้วจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขเมื่อนั้นท่านทั้งหลายพึงถือปฏิบัติให้ถึงพร้อม...(ดูข้อมูลในพระไตรปิฎกเพิ่มเติม ที่..อง.ติก.๒/๕0๕)
      
" พุทธศาสนาสื่อถึงหลักการแห่งธรรมชาติของมนุษย์ "
        พุทธศาสนาบอกว่าตามความจริงของธรรมชาติ มนุษย์นี้เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง  แต่เป็นสัตว์พิเศษ พิเศษตรงที่เป็นสัตว์ที่ต้องฝึก ต้องเรียนรู้ต้องพัฒนา และก็ฝึกได้ด้วย  ไม่เหมือนสัตว์ชนิดอื่น สัตว์ชนิดอื่นนั้นแทบไม่ต้องฝึกเลย  เพราะอยู่ได้โดยสัญชาติญาณ  ส่วนมนุษนั้นไม่สามารถอยู่ได้เพียงสัญชาติญาณ สิ่งที่มนุษย์จะนำมาใช้ในการอยู่รอด  มนุษย์ต้องเรียนรู้ ต้องฝึกเท่านั้น  เพราะฉะนั้นมนุษย์จึงใช้เวลานานกว่าสัตว์ทั่วๆไป จึงจะสามารถดำรงคชีวิตได้ด้วยตนเอง  ระหว่างนั้นก็ต้องอาศัยผู้เลี้ยง มีพ่อแม่หรือผู้เลี้ยง   ส่วนสัตว์ชนิดอื่นจะอาศัยพ่อแม่นิดเดียว  หรือแทบจะไม้ต้องอาศัยเลยพอเกิดมาบางทีก็เดินได้เลย  อย่างลูกวัว  พอออกมาปั๊บเดี๋ยวก็เดินได้เดี๋ยวก็หากินได้ อยู่รอดได้ และก็มีชีวิตอยู่ต่อไปด้วยสัญชาติญาณไปจนตาย  แต่มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษที่ไม่สามารถอยู่ได้เพียงด้วยสัญชาติญาณ จึงต้องอาศัยการเรียนรู้ การฝึกฝนพัฒนา  กินก็ต้องฝึก นอนก็ต้องฝึก  นั่งก็ต้องฝึก  ขับถ่ายก็ต้องฝึก เดินก็ต้องฝึก  พูดก็ต้องฝึก  นี้เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตทั้งนั้น  และมนุษย์ก็ต้องฝึกทั้งหมด  เพราะฉะนั้นจึงถือเป็นสัตว์พิเศษต้องมีการฝึก ต้องมีการเรียนรู้ไม่อย่างนั้นอยู่ไม่รอด  อยู่ไม่ได้เพียงด้วยสัญชาติญาณ  นี้คือความพิเศษของมนุษย์ พิเศษมิได้หมายความว่าต้องดี  พิเศษแปลว่าแปลกพวก  วิ แปลว่าแปลก  เศษ แปลว่าที่เหลือ   พิเศษ จึงแปลว่า แปลกจากพวกที่เหลือ   แปลกจากสัตว์อื่น คือแปลกพวก มนุษย์ก็พิเศษในแง่นี้ เป็นความพิเศษในทางด้อย  คือแพ้สัตว์อื่นที่ไม่สามารถอยู่ได้เพียงด้วยสัญชาติญาณ  แต่ก็กลับมาเ็ป็นข้อดีของมนุษย์ที่ว่า นอกจากมนุษย์ต้องฝึก ต้องเรียนรู้แล้ว เขาก็เรียนรู้ได้ และฝึกได้ด้วย วิเศษตรงที่ว่าฝึกได้แทบจะไม่มีขีดจำกัด  พอตั้งต้นเรียนรู้ฝึกไป มนุษย์จะเดินหน้าล้ำเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย  สัตว์ทั้งหลายเกิดมาด้วยสัญชาตญาณอย่างไร อยู่ไปจนตายก็แค่สัญชาติญาณอย่างนั้น  แต่มนุษย์จากจุดที่เกิดมาอยู่เองไม่ได้ ไม่รอด สัญชาตญาณช่วยไม่ไหว แต่พอฝึกไปเรียนไป กว่าจะตายไปได้ไกลลิบ  สามารถเป็นสัตว์ประเสริฐกระทั่งบรรลุชีวิตที่สมบูรณ์  เราก็เลยตั้งพระพุทธเจ้าขึ้นมาเป็นตัวแบบ  เป็นตัวอย่างของมนุษย์ที่ฝึกตนเองดีแล้ว ฝึกได้ขนาดเป็นพุทธ เราทุกคนสามารถเป็นพุทธได้ทั้งนั้น  ในทางพุทธศาสนาถือว่าเป็นอย่างนั้น แต่ต้องฝึกพัฒนาตนเอง  จากความจริงที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์  มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้และต้องฝึก  พุทธศาสนาก็ถือเป็นหลักการว่ามนุษย์จะมีชีวิตที่ดีงามได้  ก็ต้องเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตน  เมื่อมนุษย์ต้องการมีชีวิตที่ดี ก็ต้องมีการเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนา และเพื่อสนองหลักการเพื่อให้มั่นใจว่ามนุษย์จะได้มีการฝึกฝนพัฒนาตน  ก็ต้องมีการจัดตั้งวางระบบหรือรูปแบบขึ้นมา  เพื่อให้เกิดมีสภาพความเป็นอยู่ที่เอื้อต่อการที่มนุษย์จะได้ฝึกฝนพัฒนาตน  หรือมีการเรียนรู้อย่างดีที่สุด  มนุษย์นั้นแม้จะเรียนรู้ ฝึกฝนพัฒนาตนกันอยู่ แต่เพราะไม่รู้หลักการชัดเจน ก็เรียนไปอย่างนั้นๆ ตามที่ความจำเป็นบีบบังคับ คือฝึกพออยู่ำได้ ฝึกเดินพอเดินได้ ฝึกพูดพอพูดได้  แต่จะพูดให้ดีให้เป็นให้ได้ผลกว่านั้น บางทีก็ไม่ยอมฝึกทั้งๆ ที่มีศักยภาพ จะทำอย่างไรให้การฝึกไม่หยุดเพียงแค่พออยู่รอด แต่ฝึกให้มันดีที่สุด ให้เต็มศักยภาพของมนุษย์  จึงมีการจัดตั้งวางระบบขึ้นมา  การที่พระพุทธเจ้าจัดตั้งวางระบบขึ้นมาเป็น สังฆะ ก็เพื่อสนองหลักการนี้ คือ เพื่อให้เป็นชุมชนที่จะเอื้ออำนวยให้มนุษย์ได้เรียนรู้  ฝึกฝนพัฒนาตน สังฆะจึงเป็นชุมชนที่มีชีวิตแห่งการศึกษา สังฆะนั้นตั้งขึ้นเพื่อการศึกษาในทางพุทธศาสนา ถือว่า ทุกคนต้องศึกษา ๓ ด้านที่เรียกว่า "ไตรสิกขา" คือพัฒนา ศีล สมาธิ ปัญญา ได้แก่พัฒนาพฤติกรรม พัฒนาจิตใจ พัฒนาปัญญา เราจะมีชีวิตที่ประเสริฐด้วยการศึกษาทั้งสามด้านนี้  เมื่อเราพัฒนาไปก็จะกลายเป็นคนมีชีวิตดีงาม  ที่ท่านเรียกว่า เป็น"อริยะ" ซึ่งมี ขั้นคือ เป็น โสดาบัน  สกิทาคามี  อนาคามี สามขั้นนี้เรียกว่า เสขะหรือเสกขะ ซึ่งมาจากคำว่า สิกขา เป็นผู้ที่ยังต้องศึกษาอยู่คือยังอยู่ในไตรสิกขา จนกระทั่งถึงขันที่ เป็น "พระอรหันต์" จบการศึกษาเรียกว่าอเสกขะ จึงไม่ต้องศึกษาเป็นผู้รู้แจ้งแล้ว.../
   
                     *** คนมีศีลธรรม..(สมาชิกในหมู่อารยชน)***
  ก.มีสุจริตทั้งสาม คือ มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ๓ ประการ
๑.กายสุจริต ความสุจริตทางกาย ทำสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยกาย
๒.วจีสุจริต ความสุจริตทางวาจา พูดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยวาจา 
๓.มโนสุจริต ความสุจริตทางใจ คิดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยใจ
ข.ประพฤติตามอารยธรรม โดยปฏิบัติถูกต้องต้องตามทางแห่งกุศลกรรม ๑oประการ คือ
*ทางกาย มี๓ประการ
๑. ละเว้นการฆ่า การสังหาร การบีบคั้นเบียดเบียน, มีเมตตากรุณาช่วยเหลือเกื้อกูลสงเคราะห์กัน 
๒.ละเว้นการแย่งชิงลักขโมย และการเอารัดเอาเปรียบ, เคารพสิทธิในทรัพย์สินของกันและกัน
๓. ละเว้นการประพฤติผิดล่วงละเมิดใน ของรักของหวงของผู้อื่นไม่ข่มแหงจิตใจ หรือทำลายลบหลู่เกียรติและวงศ์ตระกูลของผู้อื่น
* ทางวาจา มี๔ประการ
๔.ละเว้นการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง, กล่าวแต่คำสัตย์ ไม่จงใจพูดให้ผิดจากความจริงเพราะเห็นแก่ประโยชน์ใดๆ
๕.ละเว้นการพูดส่อเสียด ยุยง สร้างความแตกแยก, พูดแต่คำที่สมานและส่งเสริมสามัคคี
๖.ละเว้นการพูดคำหยาบ สกปรกเสียหาย, พูดแต่คำสุภาพนุ่มนวนชวนฟัง
๗.ละเว้นการพูดเหลวไหลเพ้อเจ้อ, พูดแต่คำจริงมีเหตุมีผล มีสาระประโยชน์ ถูกกาลเทศะ 
*ทางใจมี ๓ประกา
๘.ไม่ละโมบ ไม่เ่พ่งเล็งคิดหาทางเอาแต่จะได้, คิดให้ เสียสละ ทำใจให้เผื่อแผ่กว้างขวาง 
๙.ไม่คิดร้ายมุ่งเบียดเบียน หรือเพ่งมองในแง่ที่จะทำลาย, ตั้งความปรารถณาดี แผ่ไมตรี มุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่กัน 
๑o.มีความเห็นถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ เข้าใจในหลักกรรมว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่ว, รู้เท่าทันความจริงที่เป็นธรรมดาของโลกและชีวิต มองเห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัย 
   ธรรม ๑oข้อนี้เรียกว่า "กุศลกรรมบถ" (ทางทำกรรมดี) หรือธรรมจริยา หรือ อารยธรรม เป็นรายละเอียดขยายความสุจริต ๓ ข้อข้างต้นด้วย คือ ข้อ๑-๓เป็นกายสุจริต ข้อ๔-๗เป็นวจีสุจริต ข้อ๘-๑oเป็นมโนสุจริต../
   
      ค. อย่างต่ำต้องมีศีล๕  หลักความประพฤติ ๑oข้อข้างต้นนั้น เป็นธรรมจริยา และเป็นอารยธรรมที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ทำคนให้เจริญขึ้นพร้อมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ แต่ผู้ใดยังไม่มั่นคงในอารยธรรม ท่านสอนว่าผู้นั้นพึงควบคุมตนให้ได้ในทางกาย และวาจาก่อนเป็นอย่างน้อย ด้วยการประพฤติตามหลัก ศีล๕ ที่เป็นส่วนเบื้องต้นของธรรมจริยา ๑oประการนั้น ก็ยังจะได้ชื่อว่าเป็นคนมีศีลธรรม คือ
๑.เว้นจากปาณาติบาต ละเว้นการฆ่าการสังหาร ไม่ประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย
๒.เว้นจากอทินนาทาน ละเว้นการลักขโมยเบียดบังแย่งชิง ไม่ประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน
๓.เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ละเว้นการประพฤติผิดในกาม ไม่ประทุษร้ายต่อของรักของหวงแหน อันเป็นการทำลายเกียรติภูมิ และจิตใจตลอดจนทำวงศ์ตระกูลของเขาให้สับสน
๔.เว้นจากมุสาวาท ละเว้นการพูดเท็จโกหกหลอกลวง ไม่ประทุษร้ายเขา หรือประโยชน์สุขของเขาด้วยวาจา
๕.เว้นจากสุราเมรัย ไม่เสพเครื่องดองของมึนเมาสิ่งเสพติด อันเป็นเหตุให้เกิดความประมาทมัวเมา ก่อความเสียหายผิดพลาดเพราะขาดสติ เช่นทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือสร้างความเสื่อมให้แก่ตน แม้อย่างน้อยก็เป็นผู้คุกคาม ต่อความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยของผู้ร่วมสังคม../   



 พุทธศาสนา: เป็นศาสนาที่เป็นวิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ทดสอบให้เห็นผลได้จริง ผู้ที่ศึกษาและเพียรปฏิบัติอย่างจริงจัง  ก็สามารถเข้าถึงธรรมได้จริง ตามที่กล่าวไว้ "เชิญท่านทั้งหลายมาพิสูจน์กันเถิด"  การสวดมนต์ดังๆ จะทำให้ิอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ อยู่รอบๆอะตอมของเซลล์ในร่างกาย จะเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีระเบียบ มีส่วนช่วยให้มีพลังชีวิต ทำให้มีสติมีสมาธิดี ส่งผลให้การทำงานทำได้อย่างถูกต้อง ไม่ผิดพลาด ความจำดีสมองดี ผลของการทำสมาธิทำจิตให้นิ่งสงบ จะเกิดคลื่นอัลฟ่าเวฟมีความถี่ 7-14 Cph.(ไซเคิ่ลเพอร์อาวเออร์)ขึ้นในร่างกายเนื่องจากอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่อยู่รอบๆอะตอมของเซลล์เคลื่อนตัว ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีระเบียบ
ส่งผลให้การทำงานทำได้อย่างถูกต้องไมผิดพลาด ความจำดี สมองดี อารมณ์ดี แ่ต่โดยทั่วไปผู้คนจะคุ้นเคยอยู่กับ คลื่นเบต้าเวฟที่มีความถี่ 14-24 Cph.และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เครื่องใช้สมัยใหม่ปล่อยออกมาซึ่งมีความถี่สูง มีผลทำให้หงุดหงิดง่าย โดยไร้สาเหต เครียดโดยไร้สาเหต  รู้สึกว่าเหนื่อย อ่อน เพลีย แต่ถ้ามีการฝึกทำสมาธิ ทำให้จิตสงบอยู่บ่อยๆ ในร่างกายจะเกิดคลื่นอัลฟ่าเวฟขึ้น มีผลดีกับสุขภาพกายและสุขภาพใจ อารมณ์จะดีสดชื่นแจ่มใส จิตใจเบิกบาน อารมณ์ดียิ้มแย้มแจ่มใส การทำงานก็ทำได้ถูกต้องสมองแจ่มใส  การกำหนดรู้ มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม จะทำให้จิตมีพลังโดยการหายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้  ให้ลมหายใจรู้สึกถึงท้องน้อย การเคลื่อนไหวของอวัยะร่างกายก็รู้ตามอยู่ทุกขณะ   การกระทำทุกสิ่งทุกอย่างก็ตามรู้อยู่ตลอด เรียกได้ว่ามีสติรู้อยู่ทุกขณะ ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างจริงจังอยู่ตลอด ก็จะได้รับความสุขอย่างแท้จริงอย่างยาวนาน

วิทยาศาสตร์กับพุทธศาสนา ๑:มีนักวิทยาศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นได้ทำการทดลองศึกษา เกี่ยวกับผลของโมเลกุลของน้ำ ที่ถูกกระทบกระเทือนหลายๆแบบ  โดยเปรียบเทียบน้ำ2เแก้ว เมื่อได้รับผลกระทบต่างกัน โมเลกุลอะตอมของน้ำเปลี่ยนไปแตกต่างกัน เมื่อใช้กล้องขยายที่มีกำลังขยายสูงส่องดู น้ำที่อยู่ในแก้วที่1ทดลองโดยเปิดเพลงร็อครุนแรงแบบบ้าคลั่ง และใช้คำพูดด่าว่าอย่างหยาบคายใส่ลงไปในน้ำ เมื่อส่องกล้องดูโมเลกุลอะตอมของน้ำดูแล้ว น่าเกลียดเกะกะไม่เป็นระเบียบไม่สวยงาม  ส่วนน้ำในแก้วที่2ทดลองโดยเปิดเพลงคลาสสิคหวานๆ และใช้คำพูดเพราะๆหวานๆใส่ลงไปในน้ำ  ผลปรากฏว่าเมื่อส่องขยายดูโมเลกุลของน้ำจะเรียงกันเป็นระเบียบเรียบร้อย  และสวยงามมาก ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าน้ำสามารถบันทึกข้อมูลที่ดีและข้อมูลที่ไม่ดีก็ได้อยู่ที่ปัจจัยมากระทบ หรือจะประจุพลังลงไปในน้ำก็ได้ เพราะน้ำเป็สะสารมหัศจรรย์ เป็นได้ถึง3สถานะ คือเป็นของเหลว ของแข็ง ก๊าซและต้องการที่อยู่ น้ำแปรสภาพกลับไปกลับมาได้ เป็นที่ทราบกันว่าในร่างกายของคนเราประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ เมื่อนำข้อมูลนี้มาเทียบกับ คำสอนของพุทธศาสนา ถ้าเราได้รับแต่สิ่งที่ดีๆมากระทบกับกายใจของเรา  เช่นการเพียรปฏิบัติทำสมาธิ มีสติรู้สึกตัวทั่วพร้อม อยู่เนืองๆเป็นอาจิณเป็นวิถีชีวิต คิดพูดทำแต่สิ่งที่ดีๆ  โมเลกุลของน้ำในร่างกาย ก็จะเรียงกันเป็นระเบียบสวยงาม การทำงานระดับโมเลกุลระดับเซลล์ของร่างกาย จะทำงานมีประสิทธิภาพสูง ชีวิตก็จะมีพลังทั้งกายใจ แล้วสิ่งที่ดีๆก็จะทยอยเข้ามาในชีวิต..       

ผู้มีสติ : คือผู้รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักคิดไตร่ตรองให้รอบคอบ ก่อนคิด-พูด-ทำ ว่ากำลังคิดพูดทำนั้น เป็นไปในทางเจริญหรือทางเสื่อม ถ้าพิจารณาโดยรอบคอบแล้วเห็นว่าถูก ก็ปฏิบัติดำเนินการต่อไปด้วยความเอาใจใส่ระมัดระวัง บางครั้งอาจเผลอสติ หลงประพฤติดำเนินไปทางผิด ก็ให้รีบมีสัมปชัญญะ คือความรู้สึกตัว รู้เท่าทันข้อผิดพลาดนั้น ต้องรีบแก้ไขกลับตัวกลับใจทันทีไม่ดำเนินการต่อไป

ผู้มีปัญญา : คือผู้รอบรู้กองสังขาร ผู้รอบรู้สภาวะธรรมที่ประกอบด้วย ปัจจัยปรุงแต่ง(สังขาร) และที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง(วิสังขารคือพระนิพพาน)ผู้รู้แจ้งพระอริยะสัจ๔รวมเป็นผู้มีปัญญาอันเห็นชอบ รอบรู้ทางเจริญ-ทางเสื่อม แห่งชีวิตตามที่เป็นจริง เป็นประทีปส่องทางดำเนินชีวิตตน และสามารถนำหมู่คณะ ไปสู่ความสำเร็จได้ถึงความเจริญ และสันติสุขได้ความสวัสดีคือ ความปลอดภัยอย่างมั่นคง คือไม่กลับเป็นความล้มเหลวเป็นทุกข์เดือดร้อนในภายหลัง.

ผู้มีศีล : คือผู้ที่รู้จักสำรวมระวัง ความประพฤติปฏิบัติทางกาย และทางวาจาให้เรียบร้อยดีงาม ไม่ประพฤติเบียดเบียนเองและผู้อื่น.
ผู้มีสมาธิ : คือผู้มีจิตใจตั้งมั่น ข่มกิเลสนิวรณ์  คือข่มธรรมชาติเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตใจ ที่เป็นอุปสรรคของปัญญาได้ สามารถทำให้จิตใจสงบ ตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ควรแก่งาน สามารถพิจารณาเห็นปัญหา รวมทั้งเห็นข้อแก้ไข/ป้องกันปัญหา หรือข้อวินิจฉัยต่างๆได้อย่างถูกต้อง ให้สามารถตัดสินใจ แ้ก้ปัญหาและสั่งการได้อย่างเฉียบคม.
 " ความลำเอียง ๔  อย่างนี้พึงให้ไกลห่างจากจิตใจ "
         ฉันทาคติ: ลำเอียงเพราะรักหรือมีอามิสสิ่งจูงใจ
         โทสาคติ:  ลำเอียงเพราะโกรธพยาบาท หรือเกลียดชัง
         โมหาคติ:  ลำเอียงเพราะไม่รู้จริง หรือหูเบา
         ภยาคติ :   ลำเอียงเพราะเกรงกลัวอำนาจ หรืออิทธิพลต่างๆ
๒.ทาน : คือการให้นั้นหมายถึง การแบ่งปันให้ทรัพย์สิ่งของ เพื่ออนุเคราะห์สงเคราะห์ผู้อื่นด้วยจิตเมตตา ปรารถนาที่จะให้ผู้รับอยู่ดีมีสุข หรือกรุณาธรรมปรารถนาที่จะให้ผู้ประสบความทุกข์เดือดร้อนให้พ้นทุกข์  "ยังมีทานที่สูงยิ่งขึ้นไปอีกคือ "อภัยทาน"บุญอันเลิศย่อมเจริญแก่บุคคลอันเลิศ อายุวรรณะ ยศเกียรติสุข และกำลังอันเลิศก็เจริญด้วย

๓. ศีล: คือการสำรวมระวังกายวาจาให้เรียบร้อยดีไม่มีโทษ คือการเจตนางดเว้น จากความประพฤติปฏิบัติ ที่เป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ให้เดือดร้อนเสียหาย  " ศีลนั้นป็นข้อห้ามส่วนธรรมนั้นเป็นข้อปฏิบัติ "สำหรับฆราวาสผู้ครองเรือนนั้นให้ถือ เบญจศีลคือศีล๕ เป็นขั้นพื้นฐาน
๑.ปาณาติปาตา เวรมณีสิขาปะทัง สะมาทิยามิ,ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต๑
๒.อทินนาทานา เวรมณีสิขาปะทัง สะมาทิยามิ,ห้ามลักฉ้อโกงหรือคดโกง ๑ 
๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณีสิขาปะทัง สะมาทิยามิ,ห้ามประพฤติผิดในกาม ๑.
๔. มุสาวาทา  เวรมณีสิขาปะทัง สะมาทิยามิ, ห้ามพุดปดพูดเพ้อเจ้อ
๕. สุราเมระยะมัชปะมาทัฏฐานา เวรมณีสิขาปะทัง สะมาทิยามิ, ห้ามเสพสุราและสิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษ เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑.
" ศีล ๕ ต้องถือคู่กับเบญจกัลยาธรรม " คือข้อปฏิบัติอันเป็นคุณธรรมของคนดี ๕ข้อ  มีดังต่อไปนี้
๑.ความเป็นผู้มีเมตตากรุณาธรรมต่อผู้อื่น ไม่คิดประหัตถ์ประหารกันคู่กับศีลข้อที่๑
๒. การให้ทานและประกอบสัมมาอาชีวะ คู่กับศีลข้อที่๒
๓. ความสันโดษในคู่ครองของตน  คู่กับศีลข้อที่๓
๔. การกล่าวแต่วาจาที่เป็นจริง คู่กับศีลข้อที่๔
๕. การมีสติสัมปชัญยะรู้ผิดชอบชั่วดี รู้บาป-บุญ รู้คุณ-โทษ รู้ทางเจริญ-ทางเสื่อม แห่งชีวิตตามที่เป็นจริง....

ผู้มีศรัทธา หมายถึง   เป็นผู้รู้จักศรัทธาบุคคล และรู้ข้อปฏิติที่ควรศรัทธา ไม่ลุ่มหลงงมงาย ในที่ตั้งแห่งความลุ่มหลง คือรู้จักศรัทธาใน บุคคลดี ผู้ทรงศีล ทรงธรรม เป็นสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบ ในความจริงแท้๔ประการ คือ ความสจริงแท้ในเรื่องของทุกข์๑,  เหตแห่งทุกข์๑, สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตดับ คือมรรคผลนิพพานที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ และที่เป็นบรมสุขอย่างถาวร๑,ความจริงแท้ในทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์๑, และรู้จักศรัทธาในข้อปฏิบัติที่ควรศรัทธา  คือข้อปฏิบัติที่ดีที่ชอบได้แก่ศีล๕. และคุณธรรม๕ประการ คือรู้จักศรัทธาใณพระพุทธ  คุณพระธรรม  คุณพระสงฆ์  และผู้ทรงศีลทรงธรรม  เป็นสัมมาทิฏฐิเป็นผู้ไม่หลงงมงายในที่ตั้งแห่งความหลง.

ธรรมมีอุปการะมาก ๒อย่าง :
๑.สติ: ความระลึกได้ ช่วยให้บุคคลไม่ประมาทเลินเล่อเผลอตัว
๒.สัมปชัญญะ: ความรู้ตัว ช่วยเตือนบุคคลให้รู้สึกในการประพฤติปฏิบัติสุ่ลู่ทางที่ดีที่ชอบ ถูกต้องไม่เสียหาย ตั้งมั่นอยู่ในคุณงามความดี
ธรรมเป็นโลกบาลคือธรรม๒อย่าง
๑.หิริ : ความละอายแก่ใจในอันจะประพฤติความชั่งทั้งปวง
๒.โอตัปปะ : คือความเกรงกลัวต่อบาปทุจริต อันจะเกิดจากการประพฤติชั่วทั้งปวง บุคคลผู้มีหิริโอตัปปะ ย่อมทำให้สังคมสงบสุข ปราศการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน.

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สาระธรรม ๑ โครงการบวชอุบาสิกาแก้วเพิ่มคนดีมีศีลธรรมในสังคม







   

 

สาระธรรม ๒


สาระธรรม ๓ การฝึกจิตทำสมาธิ

พุทโธ, ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานใจด้วยธรรม
            "หลักสำคัญของการทำสมาธิที่ถูกต้องเพื่อให้ได้สมาธิที่มีคุณภาพ"
         ก่อนทำสมาธิต้องสวดมนต์แล้วแผ่เมตตา ให้สรรพสัตว์ และตามด้วยการแผ่ส่วนกุศล ให้แก่ผู้ที่อยู่ในโลกทิพย์เพราะพวกเขาได้รับบุญก็ต่อเมื่อมีผู้อุทิศให้เท่านั้น การทำสมาธินั้นมีหลาายแบบ   ๑.นั่งสมาธิ .นอนสมาธิ .ยืนสมาธิ .เดินสมาธิ(เดินจงกรมที่นิยมกันมากที่สุดคือ นั่งสมาธิ เริ่มต้นด้วยการสำรวมกายใจให้ผ่อนคลายมากที่สุด แล้วนั่งเอาเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือซ้ายวางที่ตักเอามือขวาทับมือซ้ายให้ปลายนิ้วชี้ขวาชนกับหัวแม่มือซ้าย แล้วหายใจเข้าให้ลึกที่สุดให้ลึกรู้สึกถึงท้องน้อยอั้นไว้ วินาที แล้วพ่นลมออกทางปากหายลึกๆทำสามครั้ง  หลังจากนั้นก็หายใจปกติ มีสติรู้ที่ลมหายใจ หายใจสั้นรู้หายใจยาวรู้ มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ประคองจิตให้อยู่ภายในไม่ให้จิตวิ่งไปวิ่งมา เพราะจิตจะให้อยู่นิ่งๆนั้นยากจริงๆต้องใช้ความพยายามทำให้จิตนิ่งให้ได้ โดยไม่นึกคิดเรื่องใดๆทั้งสิ้น ตามรู้ลมหายใจ ตามรู้ท้องที่ลมหายใจเข้าพอง ลมหายใจออกยุบ การควบคุมจิตให้นิ่ง ต้องใช้อุบายในการภาวนาโดยลมหายใจเข้าพุทลมหายใจออกโท นับ๑. นับจนถึง๑o แล้วย้อนกลับถอยหลังมาที่๑ ใหม่ นับกลับไปกลับมา  หรือจะใช้สัมมาอะระหัง หรือยุบหนอพองหนอโดยดูที่ท้องเป็นหลัก ให้ทดลองดูชอบแบบไหนก็เลือกภาวนาตามที่ชอบ (พุทโธ, สัมมาอะระหัง, ยุบหนอพองหนอ) จะเหมือนกันไม่มีแตกต่าง  เป็นอุบายในการประคับประคองจิตนำจิตสู่ความสงบ  ต่อไปก็ให้พิจารณาร่างกายพิจารณาอวัยวะของร่างกายเราไปเรื่อย เช่น ผม, ขน,เล็บ,ฟัน,หนัง, เนื้อและอวัยวะภายใน ให้นึกว่าร่างกายเป็นศาลาพักร้อนศาลาพักอาศัย เพียงชั่วคราวเท่านั้นร่างกายเป็นดินน้ำลมไฟ  แท้จริงแล้วไม่ใช่ของเรา พยายามให้จิตนึกเห็นตัวเองให้ชัดเพราะการเห็นตัวให้ชัดนั้นจะเห็นได้ยากจิตไม่คุ้นเคย ให้พิจารณาแยกชิ้นส่วนร่างกายตนเอง ๑.ลอกหนังไว้กองหนึ่ง ๒.แยกเนื้อไว้กองหนึ่ง ๓.เครื่องในตับไตหัวใจไส้ปอดไว้กองหนึ่ง ๔.แยกกระดูกไว้กองหนึ่ง แล้วพิจารณาร่างกายแต่ละกอง แต่ละกองถ้าไว้นานจะเกิดอะไรขึ้น จะเป็นสิ่งที่ไม่น่าดูเลย มีหนอนมีกลิ่นเหม็น การพิจารณาอย่างนี้จิตจะนิ่งและมีสเถียรภาพ นำจิตสู่ความสุขที่แท้จริง การนึกคิดถึงแต่ตนเอง จะทำให้จิตไม่สูญเสียพลังงาน โดยปกติจิตจะอยู่ไม่นิ่ง นึกคิดไปข้างนอก ไปๆมาๆอยู่เรื่อย สิ่งไม่ดีสิ่งที่เป็นอกุศลจะมีพลังสูงในการดึงดูดจิต ทำให้เหนื่อยสูญเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ 


๑.สำรวมกายและใจสร้างความรู้สึก  ให้มีสภาวะที่ผ่อนคลายที่สุด น้อมจิตเข้ามาพิจารณากาย ร่างกายของตนเองมีสติระลึกรู้ กำหนดลมหายใจเข้าออก ตามรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออก มีสติอยู่ทุกขณะ  เพราะสติสำคัญที่สุดจะเป็นกำแพงขวางกั้น  มิไห้จิตออกไปข้างนอก ซึ่งจิตชอบไปหาความคุ้นเคย  ความเคยชิน และสติยังป้องกันการดึงรั้งจากมารร้ายกิเลส ที่ดึงรั้งให้จิตลงต่ำอยู่เรื่อย โดยมีความสุขแบบเทียมๆ เพียงชั่วคราวมาเป็นตัวล่อ เมื่อหลงเข้าไปก็จะได้รับทุกข์ที่ยาวนานภายหลัง ผู้ที่มีอะวิชาผู้ที่ไม่รู้ ไม่สนใจการฝึกจิต จะหลงชอบกับความสุขแบบเทียมๆ ซึ่งเป็นความสุขที่สั้นๆ เมื่อบำบัดเสร็จความสุขก็จะหายไป และความทุกข์ที่ยาวนานก็จะเข้ามาแทนที่ วกวนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ 
๒. การพิจารณากายทั้งกายในคือจิต และกายนอกคือร่างกาย โดยมีสติระลึกรู้อยู่ทุกลมหายใจ ต้องฝึกใช้ความเพียรนึกเห็นตัวเองให้ชัดให้ได้ แล้วพิจารณา ผม,ขน,เล็บ,ฟัน,หนัง, เรื่อยไปยังอวัยวะต่างๆในร่างกายของเรา พิจารณาไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา ความไม่เที่ยง ความตาย เพื่อลดพลังของมารร้าย    มีสติดึงจิตไม่ให้ไหลออกทางประตูทั้ง มี ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ, ๖ประตูนี้ที่มารร้ายจะเข้ามาดึงจิต ของเราออกไปเป็นทาสของมัน จะมาในรูปเป็นสิ่งที่มากระทบ  ตาหูจมูกลิ้นกายใจ  เมื่อมีสิ่งที่มากระทบตาหูจมูกลิ้นกายใจ ต้องมีสติรู้ ว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนั้น เท่านั้น ต้องไม่นึกคิดปรุงแต่งต่อเติม ใดๆทั้งสิ้น เพื่อจะได้ไม่เป็นทาสของมารร้าย นี้เป็นจุดวิกฤตที่สุดเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก ต้องมีสติรู้ต้องเพียรพยายาม ดึงรั้งจิตเอาไว้ให้ได้ ไม่ให้ไหลออกทางประตูทั้ง ๖ โดยการคิดอุบายขึ้นมาเป็นตัวช่วย โดยการกำหนดลมหายใจเข้าออก   หรือภาวนาลมหายใจเข้าพุท ลมหายใจออกโธมีสติรู้ทุกขณะ  หรือสัมมาอาระหัง ยุบหนอพองหนอ   ซึ่งเป็นอุบายอย่างหนึ่งเพื่อป้องกัน ไม่ให้จิตออกไปข้างนอก ทางประตูทั้ง๖ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ซึ่งเป็นประตูไปสู่หลุมปฏิกูล(นรก)เป็นหลุมพรางกับดัก ที่ธรรมชาติสร้างไว้ ดักจับผู้ที่ไม่ฝึกจิตพัฒนาใจ    เพื่อให้สติตั้งมั่นควบคุจิตให้อยู่ในที่ที่กำหนด ให้นึกคิดแต่เพียงภายในเท่านั้น นึกแต่ตัวเรานึกให้เห็นตัวเรา  จิตนั้นคล้ายๆกับน้ำซึ่งเป็นได้สามสถานะเป็นของเหลว  เป็นของแข็ง เป็นก๊าซและต้องการที่อยู่ ถ้าไม่มีที่อยู่ที่ดีให้จิต  จิตก็จะไปหาที่อยู่ข้างนอก ในที่คุ้นเคย ที่เคยชิน ให้สังเกตดูเวลานึกถึงคนอื่น จะนึกเห็นภาพได้ชัด นี้คือความคุ้นเคยของจิต แต่พอมานึกคิดให้เห็นตัวเราเอง   นึกให้เห็นหน้าตัวเอง กลับมืดนึกไม่เห็น    จึงต้องสลับมานึกคิดให้เห็นตัวเองให้ชัดให้ได้  เมื่อจิตมีที่อยู่ภายในที่ดีๆ ความนิ่งความสงบ ความสุขที่แท้จริงก็จะเกิดขึ้น
.การมีศีลที่บริสุทธิ์มีส่วนช่วยฝึกจิต ให้เข้าถึงธรรมได้เร็วยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนเดินทางไปบนถนนลาดยาง ทำให้ถึงที่หมายได้เร็วขึ้น ผู้ที่เป็นนักบวชที่ถือศีลบริสุทธิ์มีความเพียรเป็นเยี่ยม การเข้าถึงธรรมเป็นของแน่นอน  ส่วนผู้ที่มีศีลไม่ค่อยบริสุทธิ์  ก็เหมือนเดินทางไปบนถนนลูกรัง ทำให้ถึงที่หมายได้ช้า
     *หมายเหตุ.. เมื่อทำสมาธิถ้านึกคิดพิจารณาร่างกายตัวเอง นึกให้เห็นตัวเอง จะป้องกันการเกิดภาพลวงภาพหลอน สิ่งลวงต่างๆที่ทำให้รู้สึกกลัว การทำสมาธิถึงขั้นที่จิตละเอียด   ก็จะรับและเห็นสิ่งที่ละเอียด ละเอียดได้ สิ่งที่เห็นนั้นอาจเป็นเทวดาชั้นต่ำ แสดงเป็นสิ่งที่น่ากลัวเพื่อหยอกล้อ มนุษย์เล่นพอมนุษย์กลัวพวกเขาจะชอบใจ ขณะนั่งสมาธิถ้าเห็นสิ่งที่น่ากลัว "ให้นึกว่นั้นคือสิ่งลวงไม่ใช่ของจริง" ตั้งมั่นพิจารณาร่างกายตนเองเป็นสำคัญ พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง  

๔. การเดินจงกรมหรือการทำสมาธิแบบเดิน มีหลักการดังต่อไปนี้  ยืนอย่างสำรวมมือซ้ายทับที่สดือมือขวาจับที่ข้อมือซ้าย เท้าห่างกันเล็กน้อย  ยกส้นเท้าขวาให้นับ ก้าวเท้าขวาให้นับ ขณะนับสองให้ลอยเท้าอยู่ประมาณ2วินาที   แล้วตามด้วยปลายเท้าขวากดลงนับ ส้นเท้ายังยกอยู่ ส้นเท้าขวากดลงนับ๔ แล้วยกส้นเท้าซ้ายให้นับ ก้าวเท้าซ้ายให้นับ ปลายเท้าซ้ายกดลงนับ๓ส้นเท้ายังยกอยู่ แล้วส้นเท้าซ้ายกดลงนับ๔     ให้กำหนดสติอยู่ที่เท้า รู้สึกตัวทั่วพรอม เดินอย่างมั่นคงเดินอย่างช้าๆที่สุด ผู้ที่เดินจงกรมจะได้รับอนิสงฆ์ดังนี้ อดทนต่อการเดินทางไกลเมื่อจำเป็นต้องเดินด้วยเท้า  อดทนต่อความเพียร  อาการเจ็บป่วยมีน้อยความอ่อนเพลียจะไม่มี  อาหารย่อยได้ดี  ทำให้เกิดสมาธิได้ดีมาก. 
๔. การทำสมาธิแบบยืน : ให้กำหนดจิตอยู่ที่ฝ่าเท้าหรือตามแต่ความถนัดของแต่ละคน สร้างความรู้สึกให้ผ่อนคลายมากที่สุด สติตั้งมั่น มีสติรู้ที่ขาทั้งสองเพื่อไม่ให้ล้ม พิจารณาอวัยวะในร่างกายตัวเอง ให้พิจจารณาเส้นผม ลงมาที่ต้นคอลงมาตามกระดูกสันหลัง พิจารณากระดูกสันหลังแต่ละข้อ แต่ละข้อพิจารณาไปจนถึงนิ้วเท้าเล็บเท้า มีสติรู้จิตอยู่ทุกขณะ จิตคิดเรื่องเก่า  คิดเรื่องใหม่ก็รู้อยู่ตลอด เพียงแต่รู้เท่านั้นไม่คิดปรุงแต่งต่อเติมใดๆ ถ้ามีอาการเอียงๆเหมือนจะล้ม ก็ให้ลืมตาดูแล้วเริ่มใหม่ สร้างความรู้สึกให้มีความปิติ มีความสุขในการยืน การทำสมาธิแบบยืนจะทำได้ยากที่สุด แต่สมาธิที่ได้จะมีคุณภาพ การยืนทำสมาธิยังเป็นการพิสูจน์ ความแข็งแรงทั้งกายและใจ ของผู้ปฏิบัติได้เป็นอย่างดี การทำสมาธิแบบยืนและแบบเดิน จะทำให้มีสมาธิได้ดี และมีสมาธิอย่างมีคุณภาพ  เมื่อมีความสงบเกิดขึ้นอย่างแท้จริงแล้ว จึงค่อยนั่งทำสมาธิต่อไป การที่จะทำให้จิตถึงความสงบจะต้องใช้สติรู้ ประคองดูแลเอาใจใส่อย่างมาก ผู้ที่มีความเพียรปฏิบัติพัฒนาจิตอย่างจริงจัง  จนจิตละเอียดอ่อน สงบได้อย่างแท้จริง จิตก็จะเห็นดวงธรรม มีปัญญารู้แจ้ง.

การทำสมาธิจิตเป็นการสร้างบุญบารมี  จะได้รับอานิสงส์ดังนี้ :
๑.อานิสงส์ เพื่อสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดขึ้น ทั้งภพนี้และภพหน้า
๒.เพื่อจิตใจที่สว่างผ่อนปรนจากกิเลส  ปล่อยวางได้ง่าย
๓.จิตใจจะรู้วิธีแก้ปัญหาชีวิตโดยอัตโนมัติ
๔.ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองไม่มีวันอับจน
๕.ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพกายและจิตแข็งแรง
๖.เจ้ากรรมนายเวรและญาตมิตรที่ล่วงลับจะได้บุญกุศล *เพราะว่าผู้ที่อยู่ในโลกทิพย์ต้องการบุญ ที่ผู้เจริญจิตภาวนาอุทิศให้จะเป็นที่ต้องการของพวกเขาอย่างมาก../      

สาระธรรม ๔ คติธรรมคำกลอน




PHUDTHO.BLOGSPOT.COM
                           " สาระคติธรรมคำกลอนอ่านแล้วจิตใจเจริญขึ้น "

 ๑. มานับถือพระพุธศาสนากันเถิด : มาเป็นพุธแท้เถิด
        อันผู้ใดใฝ่ธรรมเป็นเนืองนิจ                และรู้จักข่มจิต ไม่ย่อหย่อน
ปฏิบัติพร้อมพรั่งดังครูสอน                        คงไม่ต้องอนาทร และร้อนใจ
ปราชน์สรรเสริญว่าธรรมนั้นแสนดีเลิศ       สุดประเสริฐกว่าทรัพย์ ทั้งน้อยใหญ่
ธรรมคุ้มผู้ประพฤติธรรมไซร้                       คงต้องได้ผลงามตามตำรา.

๒. พิจารณาชีวิต : 
          มีชีวิตอยู่จงเร่งคิด            สุจริตทำกิจการ
หมั่นเพียรในการงาน                 เลื่องลือขานคนกล่าวชม
ตายแล้วร่างก็เน่า                       ทุกคนเล่าไม่รื่นรมย์
เหลือไว้ให้นิยม                           คือความดีที่ได้ทำ.
๓. วัฏจักรแห่งชีวิต : 
        คนกินสัตว์สัตว์กินพืชยืดชีวิต    พืชมีสิทธิ์กินดินสิ้นสงสัย
ความหมุนเวียนเปลี่ยนมาน่ากินใจ    ว่าทำไมพื้นดิน กลับกินคน.
๔.  พลังแห่งบุญ :
                             บุญเดิมส่งให้ได้ดี          ได้ดี
                             บุญยิ่งทำยิ่งทวี             เพริศพริ้ง
                    บุญยิ่งมากยิ่งมี    ความสุข 
                            บุญติดตามไม่ทิ้ง            เช่นเค้าเงาตน.
๕.เสียงปลุกเบิกอรุณ
      สุริโยไขแสงใกล้แจ้งแล้ว          ฝูงวิหคร้องเจื่อยแจ้ว แสวงหา
ซึ่งอาหารทยานไปในนภา                หมู่ปักษายังขยัน หมั่นหากิน
ท่านที่รักจะซบนอนอยู่ใยเล่า              ตื่นแต่เช้าเพื่อเกลาจิต เป็นนิจสิน
 แสวงหาธรรมพระสัมมาเป็นอาจิน           ชำระล้างซึ่งมลทิล ออกจากใจ
อายุไขในมนุษย์นี้น้อยนัก               อย่าช้าชักจะเกินการ สุดแข้ไข
เพราะบางคนอาจตายก่อนถึงวัย           มรณะภัยนี้ไม่รอ ให้ต่อรอง
เป็นมนุษย์สุดแสนดีมีโอกาศ            มีปัญญาฉลาดกว่า สัตว์ทั้งผอง  
 ขอวิงวอนให้ท่านจงไตร่ตรอง           ยึดพระธรรมมาประคอง กับดวงใจ
เป็นนิสัยเป็นปัจจัยในภายหน้า             เป็นปัญญาบารมี ชี้แจ่มใส
เพื่อไม่หลงเพลิดเพลินเมื่อเดินไป         เชิญท่านไซร้ตื่นขึ้นรับ สดับธรรม.   
๖.คุณความดีคือสมบัติแท้
อันทรัพย์สินถิ่นฐานและบ้านช่อง       อีกเงินทองไร่นา มหาศาล
เป็นสมบัติติดตัวได้ชั่วกาล             จะต้องผ่านจากกัน ในวันตาย
ส่วนความดีมีศีลสัตย์สมบัติแท้        ถึงตัวแก่กายดับไม่ลับหาย
จะสถิตติดแน่นแทนร่างกาย       ชนทั้งหลายสรรเสริญ เจริญพร.
๗.พิจารณาก่อนนอน
     ก่อนท่านจะหลับไปในคืนนี้         ขอจงตั้งดวงฤดี ใว้ให้มั่น
นึกกุศลผลแห่งดีที่ผูกพัน               จิตตั้งมั่นแน่วแน่ แล้วแผ่ไป
แผ่เมตตาทั่วไปให้คนอื่น               ทั้งรักชื่นเกลียดชัง แต่ครั้งไหน
ขอให้เขาได้ดีมีสุขใจ                     อย่าหวั่นไหวแม้อมิตร ที่คิดชัง
แล้วใจเราจะสบายคลายเร่าร้อน    เพราะจิตผ่อนความเครียด แต่หนหลัง
อะนีขา สุขี  อัตตานัง                   ห่างทุกข์ขังก็เพราะจิต  คิดดีเอย.
๘. เกิดมาทั้งที่ต้องทำดีให้ได้ ตายไปทั้งทีต้องเอาดีฝากไว้                                
                        มา  ให้ดีมีธรรมประจำจิต 
                        ดี    จะติดต่อตั้งเมื่อยังอยู่ 

                       ไป   ให้ดีมีธรรมเข้าค้ำชู
                        ดี    จะอยู่แบ่งภาคเมื่อจากไป.

.ความผิดพลาดเป็นเรื่องของมนุษย์  แต่การให้อภัยเป็นวิสัยของเทวดา
      ถ้าไมีการให้อภัยผิด      และไม่คิที่จะลืมซึ่งความหลัง
จะหาสามัคคียากลำบากจัง  ความผิดพลังย่อมมีทั่งทุกตัวคน.

๑o.รู้ใจ+เข้าใจ+ทำใจได้+ให้อภัย=ความสัมพันที่ยาวนาน
    จะหาใครเหมาะใจที่ไหนเล่า  ตัวของเรายังไม่เหมาะใจหนา
อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา            รู้ล่วงหน้าเสียก่อนไม่ร้อนใจ.

 ๑๑.เวลาผ่านไปผ่านไป ท่านทำอะไรอยู่
      อันโลกเรานี้เหมือนโรงละคร  มนุษย์นิกรทุกชาติภาษา
ต่างร่ายรำทำที่ท่า                      ตามลีลาของบทละคร
บางครั้งก็เศร้าบางคราวก็สุข      บางทีก็ทุกข์หัวอกสะท้อน
มีร้าง มีรัก มีจาก มีจร                 พอจบละครชีวิตก็ลา (ตาย)

๑๒.มองโลกในแง่ดีมีคุณจริง
         มองโลกด้านดีมีผล      เห็นคนอื่นดีมีค่า
ปลุกใจให้เกิดศรัทธา            ตั้งหน้าทำดีมีคุณ
มองโลกด้านร้ายกลายกลับ   ใจรับแต่เรื่องเคืองขุ่น
เหนื่อยหน่ายเลิกร้างทางบุญ  ชีพวุ่นวายแท้แน่เอย.

๑๓.น้ำมนต์ที่ศักดิ์อย่างแท้จริง
                เหงื่อนั่นและคือน้ำมนต์ให้ผลเลิศ 
           ทำให้เกิดสุขสวัสดิ์ พิพัฒน์ผล
          น้ำมนต์รดเท่าใดไม่ช่วยคน
          จนกว่าตนมีเหงื่อเมื่อทำจริง
          การงานนั้นต้องทำด้วยสติมีสมาธิ ขันติมีอุตส่าห์
          มีสัจจะมีทมะมีปัญญามีศรัทธากล้าหาญรักงานจริง.

๑๔.มีสติ มีปัญญา
         ก่อนเชื่อสิ่งใดให้พิสูจน์  ก่อนพูดยั้งคิดวินิจฉัย
ก่อนทำกิจการงานใดๆ            คิดให้รอบคอบจึงชอบการ
คนฟังมากเรียนมากรู้หลักปราชน์ ย่อมทนงองอาจไม่หวาดไหว
เหมือนมีมิตรติดตามเช้าค่ำไป     เป็นเหตุให้วิวัฒสวัสดี.

๑๕.เมื่อทำเหตุมาดีผลที่ได้ย่อมดีตาม
    ต้องการสุขกายให้ขวนขวายทำดี              ต้องการเป็นเศรษฐีให้รู้จักประหยัด
ต้องการสมบัติให้กตัญญู                               ต้องการความรู้ใ
ห้คบบัณฑิต 
ต้องการมีมิตรให้เสียสละ                                ต้องการพละให้บริหารร่างกาย
ต้องการเป็นเจ้าเป็นนายให้รู้จักความยุติธรรม   ต้องการเป็นผู้อุปถัมภ์ให้มีความขยัน
ต้องการความสมัครสมานให้มีความสามัคคี      ต้องการเป็นคนดีให้มีศีลธรรม.
๑๖. หนทางไกลพิสูจน์กำลลังม้า กาลเวลาพิสูจน์ใจคน
        จะดูญาติก็เมื่อยากประดากเสีย           จะดูเมียก็เมื่อไข้ ใกล้อาสัญ
จะดูข้าก็เมื่อทุกข์มาประจัญ                        จะเห็นกันถ้วนทั่ว เรื่องชั่วดี
อันคนร้ายหลายลิ้นย่อมปล้นปลอก               เลี้ยงมันหลอกหลอนเล่่น เหมือนเช่นผี
อย่าพานพบคบค้าเป็นราคี                          เหมือนพาลีหลายหน้า ระอาอาย.

๑๗. ความประมาทหนทางสู่ความตาย
       อย่าลากงูพิษติดตามหลัง    อย่าแหย่รังแตนเล่น ไม่เป็นผล
อย่าเอาไม้รันมูตรคูถระคน       จะเปื้อนตนเสียเปล่า ไม่เข้าการ 
อย่าดูถูกมดแดงว่าแรงนิด     อย่าแผงฤทธิ์อวดอ้าง กับชั้างสาร
อีกงูเล็กเล็กพริกเผ็ดเอาการ    ทั้งไฟถ่านเท่าหิ่งห้อย อย่าวางใจ


๑๘. การมีศีลมีธรรม นำแต่เจริญ
  เส้นเกศามาบังภูเขาไว้        ขี่ช้างพลายไล่ตั๊กแตน แสนยากเข็ญ
อย่าเป็นก้างขวางคอถ่อลำเค็ญ  อย่าให้เหม็นชื่อเสียงเพียงวาจา
อันสตรีไม่มีศีลก็สิ้นสวย           บุรุษด้วยไม่มีศีล ก็สิ้นศรี
อันภิษุไม่มีศีลก็สิ้นดี                ข้าราชการศีลไม่มี หาดียาก.


๑๙.ถ้ารู้จักประมาณการจะไม่พบพานความทุกข์
 อย่าเชือดเถือเนื้อหนูไปเพิ่มช้าง อย่าคัดง้างปลวกเตี้ยเติมภูเขา
อย่าแบ่งพิษงูเผื่อนาคยากไม่เบา   อย่ารองเอาน้ำค้าง ใส่สาคร
อยา่าเอาภัยในพนมข่มราชสีห์      เอาวารีขู่ให้ มังกรหยอน
เอามะพร้าวขายที่สวนไม่ควรจร  เอาบทกลอนอวดกวีเป็นที่อาย.
๒o.อยากมีอยากได้แต่ไม่ขยันนั้นไม่ดี
      อันกิเลสเศษมนุษย์สุดที่เบ่ง       ทำทีเก่งก้ามง่า่ ท่าผยอง
ไว้ยศศักดิ์อำนาจชาติลลำพอง     ผู้ดีมองเป็นไพร่ ไร้พงพันธุ์
อันนิสัยมนุษย์นี้สุดยาก        อยากได้มากเอาสบาย เข้าไว้ก่อน
อยากได้ผลเกินงามไม่บั่นทอน  อยากนอนอยู่ให้เงินเหินเข้าหา.


๒๑. รู้จักเดินสายกลาง
    อันวัวควายใครก็เข้าคอกคนนั้น อย่าสำคัญคิดว่ามันจะหลง
อย่าซื่อนักคดนักหรือจักตรง    จงดำรงค์เอาไว้ให้พอดี
คนนิ้วด้วนอย่าด่วนไปสร้างแหวน หัวล้านแล่นอย่าอ้างไปสร้างหวี
คนตาบอดคิดสร้างแว่นแสนผิดที   ใครเริ่มมีนินทาอย่ารอฟัง.

๒๒.ถ้ารู้จักเจียมตัวเจียมตน แล้วจะไม่ทุกข์จน
  เหนื่อยกันเสียวันนีจะดีกว่า     เข้าตำราว่าอดเปรี้ยว ไว้เคี้ยวหวาน
มัวผลัดผ่อนนอนสบายไม่ทำงาน   ชรากาลแล้วจะครวญหวนถึงตัว
เมื่อมีน้อยจ่ายน้อยค่อยๆจ่าย    อย่าฉุยฉายจ่าเล่น เช่นเจ้าสัว
อันเขียดน้อยหรือจะแข่งกับแรงวัว   โลกจะหัวเราะเยอะ เพราะไม่เจียม.

๒๓.มองให้ถูกแล้วทุกข์จะคลาย
      จะมองทุกข์มองสุขมองไให้ดี  ว่าจะเป็น เช่นนึกหวัง
หรือมองเป็นไปตามปัจจัยให้ระวัง อย่าคลุ้มคลั่งจงมองเห็น เป็นธรรมดา
มองโดยนัยให้มันสอนจะถอนโศก  มองเยกโยกมันไม่สอน นอนเป็นบ้า
มองไม่เป็นจะโทษใครที่ไหนมา   มองถูกท่าทุกลข์ก็ คลายสลายเอง
" อยู่คนเดียวให้ระวังยั้งความคิด  อยู่ร่วมมิตรให้ระวัง ยั้งคำขาน
อยู่ร่วมราชเคารพตั้งระวังการ    อยู่ร่วพาลให้ระวังทุกอย่างมี"


๒๕. คนดีรัศมีแรง
     เพชรจะงามเพราะเรือนทองที่รองรับ   จะวาววับแวววามอร่ามศรี
สุกโชติช่วงฉายแสงพราวขาวขจี   เหมือนคนดีงามเฉิดฉันจรรยาคน.

๒๖. คนดีมีศีลมีธรรม
     อันปัญญาพาสว่างกระจ่างแสง     เหลือไฟแรงรืองทั่ว ไม่มัวหมอง
คนใจดีมีค่าปัญญาครอง        ใช้สอดส่องงานทั่ว ทั้งชั่วดี 
เพื่อนที่ดีมีใจอาลัยรัก          ความพิทักษ์หมู่มิตรไม่คิดหนี
ไม่มุ่งร้ายหมายพร้อม แต่ยอมพลี     ใจไม่มีริษยามายากล
อันความสุขใครก็มาตรปรารถณา   อยู่ที่ลละทุจริตผิดกุศล
สุจริตคิดทำประจำตน                   เป็นบ่อเกิดเลิศล้นพ้นอบาย.

๒๗. ชีวิตที่ไร้เป้าหมาย
      วันต้นไม่ศึกษาวิชาไว้    วัยกลางไม่หาทรัพย์ กลับเพิกเฉย
วัยแก่ไม่ทำบุญจุนเจือเลย       ต้องกรเกยหน้าผาก ทนยากจน
คราวตกอับทรัพย์ยศก็หมดสิ้น       มีคนนินทาแช่ง ทุกแห่งหน
จะบ่ายหน้าหาใครในคราวจน         ถูกเขาบ่นแคะ ได้ขายหน้า.

๒๘. มีความชอบแบบไหนก็จะไปตามชอบ
     ภมรมาดมุ่งหมายดอกไม้หอม  แมลงวันคิดตอม แต่ของเหม็น
ชาติบัณฑิตคิดทำดีไม่ยากเย็น    ส่วนพาลเขม้นมุ่งร้าย แต่ฝ่ายเวร.

๒๙.จงเจริญ จงเจริญได้ฟังแล้วเพลินอุรา
     ด้วยเดชพระพุทธรัตน์ตัดรากทุกข์   ขอให้ท่านมีความสุขทุกสมัย
ด้วยเดชพระธรรมรัตน์กำจัดภัย            ขอให้ท่านมีเดชใหญ่ปราบภัยเวร
ด้วยเดชพระสังฆรัตน์ตัดไข้โรค           ขอให้ท่านสร่างหายโศกโรคยุคเข็ญ
ด้วยพระไตรรัตน์ตัดกรรมเวร              ขอให้ท่านเรืองเด่นฤทธิ์ เป็นนิตย์เทอญ. 

๓o.จะเป็นมนุษย์หรือเป็นแค่คน
       เป็นมนุษย์เป็นได้เพราะใจสูง   เหมือนหนึ่งยูงมีดี ที่แววขน
ถ้าใจต่ำเป็นได้แค่เพียงคน             ย่อมเสียทีที่ตน ได้เกิดมา
ใจสะอาดใจสว่างใจสงบ                 ถ้ามีครบควรเรียก ว่ามนุสสา
เพราะทำถูกพูดถูกทุกเวลา            เปรมปรีดาคืนวัน สุขสันต์จริง
ถ้าใจสกปรกมืดมัวและร้อนเร่า      ใครมีเข้าควรเรียก ว่าผีสิง
เพราะพูดผิดทำผิดจิตประวิง          แต่ในสิ่งนำตัว กลั้วอบาย
คิดดูเถิดถ้าใครไม่อยากตก            จงรีบยกใจตน รีบขวนขวาย
ให้ใจสูงเสียได้ก่อนตัวตาย             ก็สมหมายที่เกิดมาอย่าเชือนแช.

๓๑.เรียนรู้ใดๆไม่สู้เรียนรู้ชีวิต
      เรียนชีวิตอย่าแสวงจากแหล่งนอก  อย่าเข้าไปในคอกแห่งศาสตร์ไหน
อย่ามัวคิดยุ่งยากให้ผากใจ       อย่าพิจารณาจาระใน ให้นุงนัง
อย่ายึดมั่นนั่นนี่ที่เรียกกฏ          มันตรง ตรงคดคด อย่างหมดหวัง
จงมองตรงลงไปชีวิตัง              ดูแล้วหยั่งลงไป ในชีวิต
ให้รู้รสหมดทุกด้านที่ผ่านมา     ให้ซึมซาบวิญญาณ์อย่างวิศิษฎ์
ประจักษ์ทุกข์ทุกระดับกระชับชิด  ปัญหาชีวิตจะเผยออก บอกตัวเอง.

๓๒.ความตายคือสิ่งที่หลบไม่ได้เลี่ยงไม่พ้นทุกคนต้องตาย
               ความตายคือสหายสนิท ชีวิตพร้อมที่จะอำลา
               จงพร่ำภาวนา                 เป็นมนต์ตรากันลืมตน
                                เตรียม สร้างทางชอบไว้        หวังกุศล
                                       ตัว ส่งเสริมผล                 เพิ่มให้
                                    ก่อน  แต่มฤตยูดล               เผด็จชีพ เทียวนา
                                     ตาย  แต่กายชื่อยั้ง             ชั่วฟ้าดินสลาย.

๓๓. จงทำตนให้เป็นที่พึ่งของตน
         คราวมีทรัพย์มิตรญาติไม่ขาดสาย    คราวจนหน่ายแหนงหนีความดีสูญ
ตนพึ่งตนจนหรือรวยช่วยเกื้อกูล              จงพอกพูนเพิ่มวิชาหาพึ่งตน.

๓๔. จะได้ดีก็เพราะปาก จะได้ยากก็เพราะคำ
 คำอ่อนหวานนั่นหรือใช่ซื้อแลก      ควรจะแจกจ่ายไป กำไรหลาย
เป็นเสน่ห์เล่ห์สนิทติดในกาย                ถึงตัวตายส่วนชื่อ เลื่องลือไกล.
         เป็นมนุษย์สุดจะดีที่ฝีปาก        ถ้าพูดมากแต่ไร้ค่าพาเสียศรี
แม้พูดน้อยด้อยราคาค่าไม่มี            พูดไม่ดีเสียค่า ราคาคน
อันพูดดีใช่จะดีเพราะมีปาก              คำพูดดีหายากสุดขัดสน
คำพูดชั่วมีทั่วทุกตัวคน                    คนพูดดีจึงค้นไม่พบพาน
พูดอย่างไรพูดดีขอชี้เหตุ                พอสังเกตกำหนดบทบรรหาร
คือพูดถูกสาระที่ต้องการ                 พูดอ่อนหวานผู้ฟังสิ้นกังวล.

๓๕. ถ้าต้องการอยู่ดีกินดี ต้องทำอย่างนี้ให้ได้
                                        อยู่  ที่ไหนอยู่ได้ให้เขารัก
                                        ดี    ประจักษ์ดีช่วยอำนวยผล
                                        กิน  อะไรให้รู้กินสิ้นกังวล
                                        ดี   เป็นผลดลสนองต้องใจเอย.

๓๖.  ชีวิตก้าวหน้าด้วย ๕ สุข
.ทำดีมีสุข=ละชั่ว +ประพฤติชอบ +ประกอบความดี +มีระเบียบวินัย
.มั่งมีศรีสุ=ขยันหา +รักษาดี +มีกัลยาณมิตร +ใช้ชีวิตพอเพียง
.สมบูรณ์พูนสุข=ไม่มีหนีสิน +พอกินพอใช้ +ไร้โรคโศกภัย +จิตใจเยือกเย็น
.อยู่ดีมีสุข=โอบอ้อมอารี +วจีไพเราะ +สงเคราะห์ทุกคน +วางตนพอดี
.อยู่เย็นเป็นสุข=รักกัน +ช่วยเหลือกัน +ไม่ริษยากัน +ไม่ทำลายกัน

๓๗.กรรมนี้มีกฏกำหนดส่งผล ดีชั่วรวยจนไม่พ้นกฏกรรม
    การเวียนว่ายตายเป็นเช่นบัดนี้   ตามวิถีเวรกรรม ทำไว้ก่อน
มิบรรเทาเร้ารุ่มสุมแต่ร้อน            ปิดทางจรไม่ประสบ พบที่เห็น
ควรที่มีสติตริแข่งขัน                     คิดเลื่อนชั้นขึ้นไป ให้สูงเด่น
โดยประพฤติยึดธรรมพร่ำบำเพ็ญ  เพื่อหลีกเร้นเลี่ยงต่ำนำสู่บน
วันและคืนพลันดับลงลับล่วง          ส่องปัญญาให้สว่างทางมรรคผล
ให้เห็นทุกข์ทางดับสรรพสิ้นยล    แล้วพาตนตามแสงธรรม นำสบาย.

๓๘. เมื่อทำบุญแล้วให้กล่าวดังต่อไปนี้ เพื่ออุทิศส่วนกุศล จะช่วยให้ได้บุญเพิ่มทวียิ่งขึ้น
        ขออุทิศผลกรรมที่ทำนี้       จงเป็นที่ประจักษ์แจ้งทุกแห่งหน
จงสำเร็จแก่ญาติมิตรสนิทชน      ที่เวียนวนตายเกิดกำเนิดมา
สรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้าเทพารักษ์    จงประจักษ์ในกุศลผลนี้หนา
พ้นจากทุกข์ประสบสุขทุกเวลา      สมดังข้า อุทิศให้ด้วยใจเทอญ.

๓๙.เมื่อทำบุญแล้วหรือสวดมนต์จบให้กล่าวดังต่อไปนี้
        ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอุทิศผล      บุญกุศลนี้แผ่ไป ให้ไพศาล
ถึงมารดาบิดาครูอาจารย์              ทั้งลูกหลานญาติมิตรสนิทกัน
คนเคยร่วมเคยรักสมัครใคร่          มีส่วนได้ในกุศล ผลของฉัน
ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ       ขอให้ท่านได้กุศลผลนี้เทอญ.

๔o. มนต์คลายโกรธ :
      ถ้าพูดไปเขาไม่รู้อย่าดุเขา      ว่าโง่เง่า งมเงอะ เซอะหนักหนา
แต่ตัวเราทำไมไม่โกรธา          ว่าพูดจาให้เขา ไม่เข้าใจ
โทษผู้อื่นแลเห็นเป็นภูเขา         โทษของเราแลไม่เห็น เท่าเส้นขน
ตดคนอื่นเหม็นเบื่อเราเหลือทน     ตดของตนถึง เหม็นไม่เป็นไร
จะหาใครเหมาะใจที่ไหนเล่า        ตัวของเรายังไม่ เหมาะใจหนา
อนิจจังทุกข์ขังอนัตตา             รู้ล่่วงหน้าเสียก่อน ไม่ร้อนใจ
เดินนั่งนอนร้อนในอกแทบหมกไหม้     แล้วยั้งดื้อถือโทษโกรธทำไม
ได้อะไรเป็นประโยชน์โปรดตรองดู 
    เรื่องข้องจิตผิดมาแต่ครั้งก่อน       จะคิดย้อนให้ร้อนใจทำไมหนา
คนชอบเอาเรื่องเก่ามาเผาอุรา         ช่างเซ่อซ่าฉลาดน้อย ด้อยEQ.
๔๑.มงคลชีวิต จิตประเสริฐ
       อย่าดีแต่ตัว... อย่าเอาชั่วใส่คนอื่น... อย่าชื่นชมคนผิด...
อย่าคิดเอาแต่ได้... อย่าใส่ร้ายคนดี... อย่ากล่าว วจีมุสา...
อย่าซุบซิบนินทา... อย่าลืมเวลาคุม "สติ"
๔๒.คู่ชีวีที่มีสุข : ต้องซื่อตรง ต้องจงรัก ต้องหนักแน่น:
        เมื่อมีคู่ก็จงรู้ปรนนิบัติ         แล้วซื่อสัตย์สุจริตจิตนอบน้อม
อย่าคิดร้ายย้ายแยกทำแปลกปลอม   หมั่นนอบน้อมเสน่ห์หาพาสุขเอย.   

๔๓. คนในสังคมมีศีลธรรมกันมากๆ คือ "สังคที่สมบูรณ์"
       @คนไทยคนงามสยามยิ้ม       ใบหน้าอิ่มอาบรักเป็นสักขี
ใบหน้าอิ่มอาบน้ำใจมิตรไมตรี        ใบหน้ามีมิตรสัมพันธ์ทุกชั้นชน
วาจาหวานขานเพราะเสนาะโสต      วาจาดีมีประโยชน์โสติผล
วาจาซื่อถือตรงคำมงคล              วาจาปนคำปราชญ์ชนชาติไทย
มีสองมือถือมั่นขยันกิจ                 มีสองมือกระชับมิตรกันชิดใกล้
มีสองมือรำฟ้อนอ่อนละไม            มีสองมือยื่นให้ ไทยทาน
มีสองขากล้าสู้ศัตรูศึก                  มีสองขากล้าฝึก ทวยทหาร
มีสองขากล้าก่อมิท้อการณ์           มีสองขากล้าคลาน กราบกรานพระ
มีใจเดียวแน่นหนักความรักชาติ   มีใจเดียวศรัทธาศาสน์ สาธุสะ
มีใจเดียวเทอดกษัตริย์ขัตติยะ      มีใจเดียวใจสละ ใจอภัย
คือคนไทยมีอยู่รุ่นปู่ย่า                ในวาจาบ่งบอกอ่านออกได้
สมัยนี้เอน็จอนาถขาดคนไทย       คนอะไรก็ไม่รู้ มาอยู่แทน
ขอกู่เรียกความเป็นไทยกลับไวเถิด         ขอกู่เรียกความดีเลิศประเสริฐแสน
ขอกู่เรียกความรุ่งเรืองเหมือนเมืองแมน   ขอเพิ่มแผนพัฒนาปู่ย่าตายาย  
สมัยใหม่ไวนัก ก็มักล่ม                    สมัยเก่าโง่งมก็ล้มง่าย
ทั้งใหม่เก่าเราผสมไม่งมงาย            จึงจักกลายเป็นสังคมที่สมบูรณ์... 
------------------"มีอีกหลายบทกวี วิถีธรรม อ่านต่อคลิ๊ก ตรงนี้ครับ."-----------------      
๔๔.ความเพียรนำสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน :
      การกระทำใดไม่พินิจได้คงวามผิดเป็นกำนัน  ไม่ทำเฝ้าแต่ฝันไม่มีวันจะสมใจ
ผู้ใดใฝ่เกียจคร้านอย่าหวังงานการสุกใส  คนหมั่นเท่านั้นไซร์จะพึงได้การงานงาม../


๔๕.สิ่งที่ควรรักเชิดชูบูชา :
      ธรรมชาติชนม์ดีอันมีศักดิ์    ย่อมต้องรักธานินทร์ถิ่นสถาน
รักบิดามารดาครูอาจารย์           รักภูบาลร่มเกล้าทุกเช้าเย็น
รักชาติวงศ์พงศ์เผ่าเหล่าภาษา   รักศาสนาสอนแสดงแจ้งให้เห็น
กตัญญูรู้ระลึกนึกเช้าเย็น            สิ่งจำเป็นรักไว้ให้มั่นเอย../


๔๖. สำนึกวันถึงวันผู้ให้กำเนิด เมื่อถึงวันเกิด
      งานวันเกิดยิ่งใหญ่ใครคนนั้น       ฉลองกันในกลุ่ม ผู้ลุ่มหลง
หลงลาภยศสรรเสริญเพลินทะนง       วันเกิดส่งชีพสั้น เร่งวันตาย
อีกมุมหนึ่งซึ่งเหงาหน้าเศร้าแท้          หญิงแก่ๆ นั่งหงอย และคอยหาย  
โอ้..วันนั้นเป็นวันอันตราย                  แม่คลอดสายโลหิต แทบปลิดชนม์
วันเกิดลูกเกือบคล้ายวันตายแม่          เจ็บท้องแท้เท่าไหร่ มิได้บ่น
กว่าอุ้มท้อง กว่าจะคลอด รอดเป็นคน   เติบโตจนบัดนี้ นี่เพราะใคร 
แม่เจ็บเจียนขาดใจในวันนั้น               กลับเป็นวันลูกฉลอง กันผ่องใส
ได้ชีวิตแล้วก็หลงระเริงใจ                  ลืมผู้ให้ชีวิต อนิจจา
ไฉนจึงเรียกกันว่าวันเกิด                    วันผู้ให้กำเนิด จะถูกกว่า
คำอวยพรที่เขียนควรเปลี่ยนมา          ให้มารดาคุณเป็นสุข จึงถูกแท้
เลิกจัดงานวันเกิดกันเถิดนะ               ควรที่จะคุกเข่ากราบเท้าแม่
ระลึกถึงพระคุณอบอุ่นแด่                  อย่ามัวแต่จัดงาน ประจานตัว../


๔๗.ผู้เป็นลูกๆ ต้องพิจารณา :
      พ่อแม่ก็แก่เฒ่าจำจากเจ้าอยู่ไม่นาน              จะพบจะพ้องพานเพียงเสี้ยววาน ของคืนวัน
ใจจริงไม่อยากจากเพราะยังอยากเห็นลูกหลาน   แต่ชีพมิทนทานย่อมร้าวราน สลายไป
ขอเถิดถ้าสงสารอย่ากล่าวขานให้ช้ำใจ               คนแก่ชะแรวัยย่อมเผลอไผล เป็นแน่นอน
ไม่รักก็ไม่ว่าเพียงเมตตาช่วยอาทร                   ให้กินและให้นอนคลายทุกข์ผ่อน พอสุขใจ                          
 เมื่อยามเจ้าโกรธขึงให้นึกถึงเมื่อเยาว์วัย           ร้องให้ยามป่วยไข้ได้ใครเล่า เฝ้าปลอบโยน
เฝ้าเลี้ยงจนเติบใหญ่แม้เหนื่อยกายก็ยอมทน     หวังเพียงจะได้ผลเติบโตจน สง่างาม
ขอโทษถ้าทำผิดขอให้คิดทุกโมงยาม               ใจแท้มีแต่ความหวังช่วย อำนวยชัย
ต้นไม้ที่ใกล้ฝั่งมีหรือหวังอยู่นานได้                   วันหนึ่งคงล้มไปทิ้งฝั่งไว้ ให้วังเวง../
๔๘.หลบไม่ได้เลี่ยงไม่พ้น หนีแก่ไม่ได้หนีไข้ไม่พ้น ทุกคนต้องตาย
     อันโรงเรือนเปรียบเหมือนกับสังขาร    ปลูกไว้นานเก่าคร่ำ  จำสลาย
แก่ลงแล้วโคร่งคร่างหนอร่างกาย           ไม่เฉิดฉายเหมือนสาวหนุ่มกระชุ่มกระชวย
ตาก็มัวหัวก็ขาวเป็นคราวคร่ำ                หูก็ซ้ำไม่ได้ยิน เอาสิ้นสวย
แรงก็น้อยถอยกำลังนั่ง งง งวย             ฟันก็หักไปเสียด้วยไม่ทันตาย
แต่ตัณหาเป็นไฉนจึงไม่แก่                  ยังปกแผ่พานผึง จึงไม่หาย
ถึงสังขารจะแก่ก็แต่กาย                    แต่ใจไม่คิดถึงรำพึงตน 
วันและคืนพลันดับลงลับล่วง              ท่านทั้งปวงจงอุตส่าห์ หากุศล 
พลันชีวิตคิดถึง รำพึงตน                  อายุคนมันไม่ยืน ถึงหมื่นปี../
๔๙.ยึดมั่นถือมั่น มันเหนี่ยวรั้งยังแต่ทุกข์
      อันมนุษย์ปุถุชนบนโลกนี้        ล้วนมีแต่ความผิด ติดอยู่หนึ่ง
คื่อนั่นเรา เราเป็นนั่น หมั่นคำนึง    แล้วหยุดตรึงสังขารา ว่าตัวตน
ความขังจิตติดสังขารปานฉะนี้     ในบาลีว่าสัตตะ อนุสนธิ์
แปลเป็นไทยใช้ว่าสัตย์ ชัยยุบล    คนเป็นพาลสัตย์โลกนาม ตามเนืองชัย 
ความลุ่มหลงส่งจิตคิดประมาท     ทำให้ขาดสติ มิสงสัย
ก่อกิเลส เกิดตัณหา ซัดพาไป      ความอยากได้สิ่งต่างๆ ย่างเข้ามา
พลโลกทั้งมวลล้วนอยากได้         จึงต้องไวใช้แข่ง แย่งขึ้นหน้า
แย่งกันกิน แย่งกันใช้ แย่งไคลคลา  เป็นอันว่ารับภัย ไปด้วยกัน
ความผิดเห็นเป็นชอบครอบงำจิต    จึงมืดมิดมิเห็นแสงแห่งสุขสันต์../
๕o. สำนึกพระคุณแม่
     พระคุณแม่เลิศฟ้ามหาสมุทร        พระคุณแม่สูงสุด มหาศาล
พระคุณแม่เลิศกว่าสุธาธาร               ใครจะปานแม่ฉัน นั้นไม่มี
อันพระคุณใครๆในภิภพ                    ยังรู้จบแจ้งคำมา พร่ำขาน
แม่และพ่อมีคุณต่อบุตรสุดประมาณ   ขอกราบกรานระลึกถึงซึ้งพระคุณ
เจ้าข้าเอ๋ยใครหนอใครให้กำเนิด         จึงก่อเกิดเติบใหญ่ด้วยไออุ่น
ทั้งกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงลูกมาด้วยการุณ  ช่วยค้ำจุนจนรอดพ้นเป็นคนมา
ถึงลำบากร่างกายใจห่วงลูก                ด้วยพันผูกดวงใจ ให้ห่วงหา 
หัวอกใครจะอุ่นเท่าอีกเล่านา              คอยปลอบเช็ดน้ำตา คราระทม
เป็นแดนใจใสสะอาดปราศกิเลส         เป็นสรรเพ็ชฌ์ของบุตร พิสุทธิ์สม
ความรักเปี่ยมเมตตา น่านิยม             ประดุจลมโชยเย็น ใครเห็นดี
หอบสังขารทำงานเลี้ยงลูกน้อย         เกรงจะด้อยใจทราม ต่ำศักดิ์ศรี
จึงส่งให้ได้ศึกษาวิชามี                    ให้ได้ดีกว่าแม่พ่อ หวังรอคอย
เหมือนนกกาหาเหยื่อมาเผื่อลูก        เปรอความสุขหาทรัพย์ไว้ให้ใช้สอย
ยามไกลพรากจากอุราตั้งตาคอย    ใจละห้อยนอนสะอื้น ขื่นขมทรวง
กว่าลูกลูกจะสำนึกพระคุณท่าน       ช่างเนิ่นนาน บ้างชีวา ลาลับล่วง
บ้างก็ป่วยแทบสิ้น ชีพแดดวง          ลูกจึงห่วงเอาใจใส่ ในกายา
อย่าให้รอใกล้ตายจึงกรายใกล้        เป็นศพไปจึงรู้บุญ คุณท่านหนา
ยามท่านอยู่ควรรู้ชัดสร้างศรัทธา    ตอบแทนคุณมารดา บิดาเอย
      ขอนอบน้อมหมอบกราบแท้ พระแม่แก้ว   สำนึกแล้วความเลว เคยเหลวไหล
ลูกซึ้งแล้วแนววิถี ที่เป็นไป           แม่ช้ำใจเพราะลูกมา จนชาชิ
ลูกสร้างกรรมทำบาปกราบเท้าแม่       ซึ้งใจแท้แม่อภัย ให้หมดสิ้น 
น้ำตาแม่แต่ละหยด ที่รดริน                ลูกถวิลดั่ง น้ำกรดรดหัวใจ
ลูกขอบวชแทนพระคุณ คุณแม่แล้ว   ร่มโพธิ์แก้วโพธิ์ทอง ของลูกเอ๋ย
อันกุศลผลบุญที่คุ้นเคย                    ขอชดเชยคุณแม่ พลันกตัญญู
****************************************************************************************************
เวบนี้จัดทำโดย  สุทธิ   เมืองสีนุ่น   (ที่ปรึกษา พระณรงค์เดช  มหาเตโชภิกขุ ) 
โครงการเผยแพร่พระพุทธศาสนา   เพื่อเพิ่มคนดีมีศีลมีธรรมในสังคม  " พุทธศาสนาเพื่อสันติภาพโลก
 phudtho@gmail.com ( เวบพุทโธ ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน):  สร้างเมื่อวันจันทร์ที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๓ )