จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พุทโธ ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม "พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตพัฒนาชีวิตให้เจริญได้จริง"




 
พระณรงค์เดช มหาเตโชภิขุ 
หัวใจของพระ:ไม่ละเมิดกติกา รักษามารยาท บิณฑบาตเลี้ยงชีวิต เพ่งพินิจปัจจัยก่อนใช้สอย.. เป็นอยู่อย่างสำรวมดูแล้วน่าศรัทธา   
พระต้องมีสภาพจิตที่มั่นคงสูงต้องมองสิ่งต่างๆเป็นธรรมดาเป็นสิ่งที่หน้าเบื่อหน่าย :
มองหญิงงามให้เป็นซากศพเน่าพอง ภาพสยองพาตัณหาหายมลายไป....
* ท่าทีของพุทธศาสนาต่อความจริงหรือต่อสัจธรรม     หลักการทางพุทธศาสนา เราไม่ดูเฉพาะท่าทีที่แสดงออก ต่อผู้อื่นหรือสิ่งอื่นเท่านั้น แต่ดูท่าทีต่อสิ่งที่ตัวเองแสวงหา หรือสิ่งที่ตัวเองแสดงด้วย คือท่าทีต่อสิ่งที่เรียกว่า"ธรรมะ" เรื่องของศาสนามีสิ่งหนึ่งที่เราต้องการคือ "ความเป็นสากล" สากลนั้นมี ๒อย่าง ๑.สากลที่ยอมรับกันเป็นส่วนมากส่วนใหญ่ เช่นเสื้อผ้าชุดสากล ภาษาอังกฤษยอมรับกันทั่วโลกว่าเป็นภาษาสากล  ๒.สากลที่เป็นสัจจะธรรมความจริง ที่ไม่เข้าใครออกใคร ไม่ว่าอยู่ที่ไหนมันก็เป็นอย่างนั้น คือเป็นสากลตามธรรมชาติ ตามธรรมดา เช่นเป็นมนุษย์ต้องกินอาหาร และต้องมีเครื่องนุ่งห่มตามความจำเป็นไม่ขึ้นอยู่กับรูปแบบใดๆ  พุทธศาสนามีท่าทีต่อความจริง หลักความจริง คือกฏธรรมชาติก็คงอยู่อย่างนั้น ความจริงมีอยู่ตามธรรมดาของมัน ไม่ขึ้นต่อองค์พระศาสดา พระศาสดามีฐานะเป็นผู้ค้นพบ และเมื่อค้นพบความจริงด้วยปัญญาแล้ว ก็มาบอกมาเปิดเผยความจริงนั้นแก่มนุษย์ทั้งหลาย เพื่อให้รู้เข้าใจความจริงนั้น แล้วจะได้ปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายได้ถูกต้องตามความจริงนั้น อันจะทำให้การดำเนินชีวิต และกิจการทั้งหลายของมนุษย์ บังเกิดผลเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง  ด้วยท่าทีพื้นฐานนี้ คือไม่ถือเอาความจริงและหลักการต่างๆจะเป็นสิ่งที่ศาสดาตั้งเอาเองตามที่พอใจ และความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายดำเนินไปตามกฏธรรมชาติ ไม่มีใครจะมาเป็นผู้วินิจฉัยพิพากษาตัดสิน มนุษย์เราจึงต้องรู้เข้าใจความจริงนั้น เพื่อจะปฏิบัติได้ถูกต้อง  ท่าทีทั่วไปของพุทธศาสนาจึงเป็นท่าทีแห่งปัญญา และในเมื่อปัญญาเป็นสิ่งที่จะต้องพัฒนาขึ้นในตัวมนุษย์แต่ละคน จะจับใส่ยัดให้หรือบังคับให้เกิดขึ้นไม่ได้  พุทธศาสนาจึงมีท่าทีทั่วไปอีกอย่างหนึ่งตามมา คือเปิดโอกาศแก่ทุกคนในการคิดพิจารณา และเชิญชวนให้ใช้ปัญญา เรียกว่าเสรีภาพทางความคิด ในการกล่าวสอนหรือประกาศแสดงนำเสนอหลักการต่างๆ พุทธศาสนาก็จะมีท่าทีเป็นกลางๆ แบบเสนอให้พิจารณาและให้คิดตัดสินใจด้วยตนเอง  พุทธศาสนาจึงไม่พูดว่า พุทธศาสนาจะเอาอย่างนั้นจะเอาอย่างนี้ เมื่อความจริงเป็นอย่างนี้และเมื่อผลเป็นอย่างนี้ จะเกิดจากการทำเหตอย่างนี้ มนุษย์เราควรเลือกเอา หรือควารปฏิบัติในเรื่องนั้นๆอย่างไร จากความจริงที่เป็นอย่างนี้ ถ้ามนุษย์ต้องการผลดีก็ต้องปฏิบัติอย่างนี้ ถ้าท่านปฏิบัติอย่างนี้ผลดีก็เกิดขึ้น ท่านจะเห็นด้วยและปฏิบัติไหม? หลักการพุทธศาสนาเป็นหลักการที่เป็นสากล พุทธศาสนามีท่าทีในการแสดงความจริง ซึ่งถือว่าความจริงเป็นของกลางๆ ไม่เข้าใครออกใคร พุทธศาสนาจึงพูดเป็นกลางๆ ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นอย่างนี้  เช่นพูดว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ว่ามันจะอยู่ที่ไหนมันก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย เช่นสอนว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หรือการทำดีเป็นเหตุให้ไปสวรรค์ การทำชั่วเป็นเหตุให้ไปนรก คือถือว่าตัวการทำดีและการทำชั่ว เป็นเหตุให้ได้รับผลต่างกันโดยตัวของมันเอง  เป็นเรื่องธรรมดาของระบบเหตุปัจจัย ผลกับเหตุตามมากันเองเพราะว่าการทำเหตุก่อให้เกิดผลเอง เหตุทำให้เกิดผลผลก็เกิดจากเหตุ  ศาสดามาแสดงความจริงและแนะนำตามความจริงนั้น แต่ความจริงก็เป็นของมันอย่างนั้น ไม่ขึ้นต่อศาสดา ไม่ต้องแยกว่าศาสนาไหนศาสดาใด.

"พุทธศาสนามุ่งให้เชื่อมั่นในตนเองเป็นสำคัญโดยใช้
สติปัญญาพิจารณาไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนรอบคอบ"
           พุทธศาสนากับหลักความเชื่อ :  เปิดโอกาศ เสรีภาพทางความคิดอย่างเต็มที่  เพื่อเข้าถึงความจริงด้วยวิธีการทางปัญญาอย่างแท้จริง
"ความในกาลามะสูตรมีดังต่อไปนี้
           สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า(พระพุทธเจ้า)...เสด็จถึงเกสปุสตนิคม  ถิ่นของชาวกาลามะ  พวกกาลามะชาวเกตปุสตนิคมได้ทราบ...
จึงไปเฝ้าพระผู้มีภาคเจ้า...กราบทูลว่า
     สมณพราหมณ์พวกหนี่ง  มาถึงเกตปุสตนิคมนี้ พูดเชิดชูแต่หลักคำสอนของตน พร้อมกับพูดข่มขี่ดูถูกหลักคำสอนของพวกอื่น  ครั้นสนมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมาถึงเกสปุตตนิคม...(ก็พูดอย่างเดียวกันนั้นอีก) พวกข้าพเจ้าจึงมีความสงสัยคลางแคลงใจว่า ในบรรดาสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า เป็นการสมควรแล้วที่ท่านทั้งหลายจะสงสัยจะแคงใจ ความสงสัยของท่านหลายเกิดขึ้นในเหตุที่ควรสงสัย "ท่านผู้เป็นชาวกาลามะทั้งหลาย ทั้งหลาย
๑. อย่าปลงใจเชื่อ   โดยการฟังตามกันมา
๒. อย่าปลงใจเชื่อ  โดยการถือสืบๆ กันมา  
๓. อย่าปลงใจเชื่อ   โดยการเล่าลือ
๔. อย่าปลงใจเชื่อ   โดยการอ้างตำรา
๕. อย่าปลงใจเชื่อ   โดยตรรก
๖. อย่าปลงใจเชื่อ   โดยการอนุมาน
๗. อย่าปลงใจเชื่อ  โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
๘. อย่าปลงใจเชื่อ  เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน
๙. อย่าปลงใจเชื่อ  เพราะมองเห็นรูปลักษณะท่าทางน่าเชื่อ
๑o.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
เมื่อท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า สิ่งเหล่านี้ไม่เกื้อกูล ...ใครยึดถือปฏิบัติแล้วจะเป็นไปเพื่อความเสียหาย เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้นท่านหลายพึงละเสีย./
     เมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า สิ่งเหล่านี้เป็นของเกื้อกูล...ใครยึดถือปฏิบัติแล้วจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขเมื่อนั้นท่านทั้งหลายพึงถือปฏิบัติให้ถึงพร้อม...(ดูข้อมูลในพระไตรปิฎกเพิ่มเติม ที่..อง.ติก.๒/๕0๕)
      
" พุทธศาสนาสื่อถึงหลักการแห่งธรรมชาติของมนุษย์ "
        พุทธศาสนาบอกว่าตามความจริงของธรรมชาติ มนุษย์นี้เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง  แต่เป็นสัตว์พิเศษ พิเศษตรงที่เป็นสัตว์ที่ต้องฝึก ต้องเรียนรู้ต้องพัฒนา และก็ฝึกได้ด้วย  ไม่เหมือนสัตว์ชนิดอื่น สัตว์ชนิดอื่นนั้นแทบไม่ต้องฝึกเลย  เพราะอยู่ได้โดยสัญชาติญาณ  ส่วนมนุษนั้นไม่สามารถอยู่ได้เพียงสัญชาติญาณ สิ่งที่มนุษย์จะนำมาใช้ในการอยู่รอด  มนุษย์ต้องเรียนรู้ ต้องฝึกเท่านั้น  เพราะฉะนั้นมนุษย์จึงใช้เวลานานกว่าสัตว์ทั่วๆไป จึงจะสามารถดำรงคชีวิตได้ด้วยตนเอง  ระหว่างนั้นก็ต้องอาศัยผู้เลี้ยง มีพ่อแม่หรือผู้เลี้ยง   ส่วนสัตว์ชนิดอื่นจะอาศัยพ่อแม่นิดเดียว  หรือแทบจะไม้ต้องอาศัยเลยพอเกิดมาบางทีก็เดินได้เลย  อย่างลูกวัว  พอออกมาปั๊บเดี๋ยวก็เดินได้เดี๋ยวก็หากินได้ อยู่รอดได้ และก็มีชีวิตอยู่ต่อไปด้วยสัญชาติญาณไปจนตาย  แต่มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษที่ไม่สามารถอยู่ได้เพียงด้วยสัญชาติญาณ จึงต้องอาศัยการเรียนรู้ การฝึกฝนพัฒนา  กินก็ต้องฝึก นอนก็ต้องฝึก  นั่งก็ต้องฝึก  ขับถ่ายก็ต้องฝึก เดินก็ต้องฝึก  พูดก็ต้องฝึก  นี้เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตทั้งนั้น  และมนุษย์ก็ต้องฝึกทั้งหมด  เพราะฉะนั้นจึงถือเป็นสัตว์พิเศษต้องมีการฝึก ต้องมีการเรียนรู้ไม่อย่างนั้นอยู่ไม่รอด  อยู่ไม่ได้เพียงด้วยสัญชาติญาณ  นี้คือความพิเศษของมนุษย์ พิเศษมิได้หมายความว่าต้องดี  พิเศษแปลว่าแปลกพวก  วิ แปลว่าแปลก  เศษ แปลว่าที่เหลือ   พิเศษ จึงแปลว่า แปลกจากพวกที่เหลือ   แปลกจากสัตว์อื่น คือแปลกพวก มนุษย์ก็พิเศษในแง่นี้ เป็นความพิเศษในทางด้อย  คือแพ้สัตว์อื่นที่ไม่สามารถอยู่ได้เพียงด้วยสัญชาติญาณ  แต่ก็กลับมาเ็ป็นข้อดีของมนุษย์ที่ว่า นอกจากมนุษย์ต้องฝึก ต้องเรียนรู้แล้ว เขาก็เรียนรู้ได้ และฝึกได้ด้วย วิเศษตรงที่ว่าฝึกได้แทบจะไม่มีขีดจำกัด  พอตั้งต้นเรียนรู้ฝึกไป มนุษย์จะเดินหน้าล้ำเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย  สัตว์ทั้งหลายเกิดมาด้วยสัญชาตญาณอย่างไร อยู่ไปจนตายก็แค่สัญชาติญาณอย่างนั้น  แต่มนุษย์จากจุดที่เกิดมาอยู่เองไม่ได้ ไม่รอด สัญชาตญาณช่วยไม่ไหว แต่พอฝึกไปเรียนไป กว่าจะตายไปได้ไกลลิบ  สามารถเป็นสัตว์ประเสริฐกระทั่งบรรลุชีวิตที่สมบูรณ์  เราก็เลยตั้งพระพุทธเจ้าขึ้นมาเป็นตัวแบบ  เป็นตัวอย่างของมนุษย์ที่ฝึกตนเองดีแล้ว ฝึกได้ขนาดเป็นพุทธ เราทุกคนสามารถเป็นพุทธได้ทั้งนั้น  ในทางพุทธศาสนาถือว่าเป็นอย่างนั้น แต่ต้องฝึกพัฒนาตนเอง  จากความจริงที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์  มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้และต้องฝึก  พุทธศาสนาก็ถือเป็นหลักการว่ามนุษย์จะมีชีวิตที่ดีงามได้  ก็ต้องเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตน  เมื่อมนุษย์ต้องการมีชีวิตที่ดี ก็ต้องมีการเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนา และเพื่อสนองหลักการเพื่อให้มั่นใจว่ามนุษย์จะได้มีการฝึกฝนพัฒนาตน  ก็ต้องมีการจัดตั้งวางระบบหรือรูปแบบขึ้นมา  เพื่อให้เกิดมีสภาพความเป็นอยู่ที่เอื้อต่อการที่มนุษย์จะได้ฝึกฝนพัฒนาตน  หรือมีการเรียนรู้อย่างดีที่สุด  มนุษย์นั้นแม้จะเรียนรู้ ฝึกฝนพัฒนาตนกันอยู่ แต่เพราะไม่รู้หลักการชัดเจน ก็เรียนไปอย่างนั้นๆ ตามที่ความจำเป็นบีบบังคับ คือฝึกพออยู่ำได้ ฝึกเดินพอเดินได้ ฝึกพูดพอพูดได้  แต่จะพูดให้ดีให้เป็นให้ได้ผลกว่านั้น บางทีก็ไม่ยอมฝึกทั้งๆ ที่มีศักยภาพ จะทำอย่างไรให้การฝึกไม่หยุดเพียงแค่พออยู่รอด แต่ฝึกให้มันดีที่สุด ให้เต็มศักยภาพของมนุษย์  จึงมีการจัดตั้งวางระบบขึ้นมา  การที่พระพุทธเจ้าจัดตั้งวางระบบขึ้นมาเป็น สังฆะ ก็เพื่อสนองหลักการนี้ คือ เพื่อให้เป็นชุมชนที่จะเอื้ออำนวยให้มนุษย์ได้เรียนรู้  ฝึกฝนพัฒนาตน สังฆะจึงเป็นชุมชนที่มีชีวิตแห่งการศึกษา สังฆะนั้นตั้งขึ้นเพื่อการศึกษาในทางพุทธศาสนา ถือว่า ทุกคนต้องศึกษา ๓ ด้านที่เรียกว่า "ไตรสิกขา" คือพัฒนา ศีล สมาธิ ปัญญา ได้แก่พัฒนาพฤติกรรม พัฒนาจิตใจ พัฒนาปัญญา เราจะมีชีวิตที่ประเสริฐด้วยการศึกษาทั้งสามด้านนี้  เมื่อเราพัฒนาไปก็จะกลายเป็นคนมีชีวิตดีงาม  ที่ท่านเรียกว่า เป็น"อริยะ" ซึ่งมี ขั้นคือ เป็น โสดาบัน  สกิทาคามี  อนาคามี สามขั้นนี้เรียกว่า เสขะหรือเสกขะ ซึ่งมาจากคำว่า สิกขา เป็นผู้ที่ยังต้องศึกษาอยู่คือยังอยู่ในไตรสิกขา จนกระทั่งถึงขันที่ เป็น "พระอรหันต์" จบการศึกษาเรียกว่าอเสกขะ จึงไม่ต้องศึกษาเป็นผู้รู้แจ้งแล้ว.../
   
                     *** คนมีศีลธรรม..(สมาชิกในหมู่อารยชน)***
  ก.มีสุจริตทั้งสาม คือ มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ๓ ประการ
๑.กายสุจริต ความสุจริตทางกาย ทำสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยกาย
๒.วจีสุจริต ความสุจริตทางวาจา พูดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยวาจา 
๓.มโนสุจริต ความสุจริตทางใจ คิดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยใจ
ข.ประพฤติตามอารยธรรม โดยปฏิบัติถูกต้องต้องตามทางแห่งกุศลกรรม ๑oประการ คือ
*ทางกาย มี๓ประการ
๑. ละเว้นการฆ่า การสังหาร การบีบคั้นเบียดเบียน, มีเมตตากรุณาช่วยเหลือเกื้อกูลสงเคราะห์กัน 
๒.ละเว้นการแย่งชิงลักขโมย และการเอารัดเอาเปรียบ, เคารพสิทธิในทรัพย์สินของกันและกัน
๓. ละเว้นการประพฤติผิดล่วงละเมิดใน ของรักของหวงของผู้อื่นไม่ข่มแหงจิตใจ หรือทำลายลบหลู่เกียรติและวงศ์ตระกูลของผู้อื่น
* ทางวาจา มี๔ประการ
๔.ละเว้นการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง, กล่าวแต่คำสัตย์ ไม่จงใจพูดให้ผิดจากความจริงเพราะเห็นแก่ประโยชน์ใดๆ
๕.ละเว้นการพูดส่อเสียด ยุยง สร้างความแตกแยก, พูดแต่คำที่สมานและส่งเสริมสามัคคี
๖.ละเว้นการพูดคำหยาบ สกปรกเสียหาย, พูดแต่คำสุภาพนุ่มนวนชวนฟัง
๗.ละเว้นการพูดเหลวไหลเพ้อเจ้อ, พูดแต่คำจริงมีเหตุมีผล มีสาระประโยชน์ ถูกกาลเทศะ 
*ทางใจมี ๓ประกา
๘.ไม่ละโมบ ไม่เ่พ่งเล็งคิดหาทางเอาแต่จะได้, คิดให้ เสียสละ ทำใจให้เผื่อแผ่กว้างขวาง 
๙.ไม่คิดร้ายมุ่งเบียดเบียน หรือเพ่งมองในแง่ที่จะทำลาย, ตั้งความปรารถณาดี แผ่ไมตรี มุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่กัน 
๑o.มีความเห็นถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ เข้าใจในหลักกรรมว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่ว, รู้เท่าทันความจริงที่เป็นธรรมดาของโลกและชีวิต มองเห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัย 
   ธรรม ๑oข้อนี้เรียกว่า "กุศลกรรมบถ" (ทางทำกรรมดี) หรือธรรมจริยา หรือ อารยธรรม เป็นรายละเอียดขยายความสุจริต ๓ ข้อข้างต้นด้วย คือ ข้อ๑-๓เป็นกายสุจริต ข้อ๔-๗เป็นวจีสุจริต ข้อ๘-๑oเป็นมโนสุจริต../
   
      ค. อย่างต่ำต้องมีศีล๕  หลักความประพฤติ ๑oข้อข้างต้นนั้น เป็นธรรมจริยา และเป็นอารยธรรมที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ทำคนให้เจริญขึ้นพร้อมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ แต่ผู้ใดยังไม่มั่นคงในอารยธรรม ท่านสอนว่าผู้นั้นพึงควบคุมตนให้ได้ในทางกาย และวาจาก่อนเป็นอย่างน้อย ด้วยการประพฤติตามหลัก ศีล๕ ที่เป็นส่วนเบื้องต้นของธรรมจริยา ๑oประการนั้น ก็ยังจะได้ชื่อว่าเป็นคนมีศีลธรรม คือ
๑.เว้นจากปาณาติบาต ละเว้นการฆ่าการสังหาร ไม่ประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย
๒.เว้นจากอทินนาทาน ละเว้นการลักขโมยเบียดบังแย่งชิง ไม่ประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน
๓.เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ละเว้นการประพฤติผิดในกาม ไม่ประทุษร้ายต่อของรักของหวงแหน อันเป็นการทำลายเกียรติภูมิ และจิตใจตลอดจนทำวงศ์ตระกูลของเขาให้สับสน
๔.เว้นจากมุสาวาท ละเว้นการพูดเท็จโกหกหลอกลวง ไม่ประทุษร้ายเขา หรือประโยชน์สุขของเขาด้วยวาจา
๕.เว้นจากสุราเมรัย ไม่เสพเครื่องดองของมึนเมาสิ่งเสพติด อันเป็นเหตุให้เกิดความประมาทมัวเมา ก่อความเสียหายผิดพลาดเพราะขาดสติ เช่นทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือสร้างความเสื่อมให้แก่ตน แม้อย่างน้อยก็เป็นผู้คุกคาม ต่อความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยของผู้ร่วมสังคม../   



 พุทธศาสนา: เป็นศาสนาที่เป็นวิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ทดสอบให้เห็นผลได้จริง ผู้ที่ศึกษาและเพียรปฏิบัติอย่างจริงจัง  ก็สามารถเข้าถึงธรรมได้จริง ตามที่กล่าวไว้ "เชิญท่านทั้งหลายมาพิสูจน์กันเถิด"  การสวดมนต์ดังๆ จะทำให้ิอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ อยู่รอบๆอะตอมของเซลล์ในร่างกาย จะเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีระเบียบ มีส่วนช่วยให้มีพลังชีวิต ทำให้มีสติมีสมาธิดี ส่งผลให้การทำงานทำได้อย่างถูกต้อง ไม่ผิดพลาด ความจำดีสมองดี ผลของการทำสมาธิทำจิตให้นิ่งสงบ จะเกิดคลื่นอัลฟ่าเวฟมีความถี่ 7-14 Cph.(ไซเคิ่ลเพอร์อาวเออร์)ขึ้นในร่างกายเนื่องจากอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่อยู่รอบๆอะตอมของเซลล์เคลื่อนตัว ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีระเบียบ
ส่งผลให้การทำงานทำได้อย่างถูกต้องไมผิดพลาด ความจำดี สมองดี อารมณ์ดี แ่ต่โดยทั่วไปผู้คนจะคุ้นเคยอยู่กับ คลื่นเบต้าเวฟที่มีความถี่ 14-24 Cph.และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เครื่องใช้สมัยใหม่ปล่อยออกมาซึ่งมีความถี่สูง มีผลทำให้หงุดหงิดง่าย โดยไร้สาเหต เครียดโดยไร้สาเหต  รู้สึกว่าเหนื่อย อ่อน เพลีย แต่ถ้ามีการฝึกทำสมาธิ ทำให้จิตสงบอยู่บ่อยๆ ในร่างกายจะเกิดคลื่นอัลฟ่าเวฟขึ้น มีผลดีกับสุขภาพกายและสุขภาพใจ อารมณ์จะดีสดชื่นแจ่มใส จิตใจเบิกบาน อารมณ์ดียิ้มแย้มแจ่มใส การทำงานก็ทำได้ถูกต้องสมองแจ่มใส  การกำหนดรู้ มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม จะทำให้จิตมีพลังโดยการหายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้  ให้ลมหายใจรู้สึกถึงท้องน้อย การเคลื่อนไหวของอวัยะร่างกายก็รู้ตามอยู่ทุกขณะ   การกระทำทุกสิ่งทุกอย่างก็ตามรู้อยู่ตลอด เรียกได้ว่ามีสติรู้อยู่ทุกขณะ ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างจริงจังอยู่ตลอด ก็จะได้รับความสุขอย่างแท้จริงอย่างยาวนาน

วิทยาศาสตร์กับพุทธศาสนา ๑:มีนักวิทยาศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นได้ทำการทดลองศึกษา เกี่ยวกับผลของโมเลกุลของน้ำ ที่ถูกกระทบกระเทือนหลายๆแบบ  โดยเปรียบเทียบน้ำ2เแก้ว เมื่อได้รับผลกระทบต่างกัน โมเลกุลอะตอมของน้ำเปลี่ยนไปแตกต่างกัน เมื่อใช้กล้องขยายที่มีกำลังขยายสูงส่องดู น้ำที่อยู่ในแก้วที่1ทดลองโดยเปิดเพลงร็อครุนแรงแบบบ้าคลั่ง และใช้คำพูดด่าว่าอย่างหยาบคายใส่ลงไปในน้ำ เมื่อส่องกล้องดูโมเลกุลอะตอมของน้ำดูแล้ว น่าเกลียดเกะกะไม่เป็นระเบียบไม่สวยงาม  ส่วนน้ำในแก้วที่2ทดลองโดยเปิดเพลงคลาสสิคหวานๆ และใช้คำพูดเพราะๆหวานๆใส่ลงไปในน้ำ  ผลปรากฏว่าเมื่อส่องขยายดูโมเลกุลของน้ำจะเรียงกันเป็นระเบียบเรียบร้อย  และสวยงามมาก ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าน้ำสามารถบันทึกข้อมูลที่ดีและข้อมูลที่ไม่ดีก็ได้อยู่ที่ปัจจัยมากระทบ หรือจะประจุพลังลงไปในน้ำก็ได้ เพราะน้ำเป็สะสารมหัศจรรย์ เป็นได้ถึง3สถานะ คือเป็นของเหลว ของแข็ง ก๊าซและต้องการที่อยู่ น้ำแปรสภาพกลับไปกลับมาได้ เป็นที่ทราบกันว่าในร่างกายของคนเราประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ เมื่อนำข้อมูลนี้มาเทียบกับ คำสอนของพุทธศาสนา ถ้าเราได้รับแต่สิ่งที่ดีๆมากระทบกับกายใจของเรา  เช่นการเพียรปฏิบัติทำสมาธิ มีสติรู้สึกตัวทั่วพร้อม อยู่เนืองๆเป็นอาจิณเป็นวิถีชีวิต คิดพูดทำแต่สิ่งที่ดีๆ  โมเลกุลของน้ำในร่างกาย ก็จะเรียงกันเป็นระเบียบสวยงาม การทำงานระดับโมเลกุลระดับเซลล์ของร่างกาย จะทำงานมีประสิทธิภาพสูง ชีวิตก็จะมีพลังทั้งกายใจ แล้วสิ่งที่ดีๆก็จะทยอยเข้ามาในชีวิต..       

ผู้มีสติ : คือผู้รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักคิดไตร่ตรองให้รอบคอบ ก่อนคิด-พูด-ทำ ว่ากำลังคิดพูดทำนั้น เป็นไปในทางเจริญหรือทางเสื่อม ถ้าพิจารณาโดยรอบคอบแล้วเห็นว่าถูก ก็ปฏิบัติดำเนินการต่อไปด้วยความเอาใจใส่ระมัดระวัง บางครั้งอาจเผลอสติ หลงประพฤติดำเนินไปทางผิด ก็ให้รีบมีสัมปชัญญะ คือความรู้สึกตัว รู้เท่าทันข้อผิดพลาดนั้น ต้องรีบแก้ไขกลับตัวกลับใจทันทีไม่ดำเนินการต่อไป

ผู้มีปัญญา : คือผู้รอบรู้กองสังขาร ผู้รอบรู้สภาวะธรรมที่ประกอบด้วย ปัจจัยปรุงแต่ง(สังขาร) และที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง(วิสังขารคือพระนิพพาน)ผู้รู้แจ้งพระอริยะสัจ๔รวมเป็นผู้มีปัญญาอันเห็นชอบ รอบรู้ทางเจริญ-ทางเสื่อม แห่งชีวิตตามที่เป็นจริง เป็นประทีปส่องทางดำเนินชีวิตตน และสามารถนำหมู่คณะ ไปสู่ความสำเร็จได้ถึงความเจริญ และสันติสุขได้ความสวัสดีคือ ความปลอดภัยอย่างมั่นคง คือไม่กลับเป็นความล้มเหลวเป็นทุกข์เดือดร้อนในภายหลัง.

ผู้มีศีล : คือผู้ที่รู้จักสำรวมระวัง ความประพฤติปฏิบัติทางกาย และทางวาจาให้เรียบร้อยดีงาม ไม่ประพฤติเบียดเบียนเองและผู้อื่น.
ผู้มีสมาธิ : คือผู้มีจิตใจตั้งมั่น ข่มกิเลสนิวรณ์  คือข่มธรรมชาติเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตใจ ที่เป็นอุปสรรคของปัญญาได้ สามารถทำให้จิตใจสงบ ตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ควรแก่งาน สามารถพิจารณาเห็นปัญหา รวมทั้งเห็นข้อแก้ไข/ป้องกันปัญหา หรือข้อวินิจฉัยต่างๆได้อย่างถูกต้อง ให้สามารถตัดสินใจ แ้ก้ปัญหาและสั่งการได้อย่างเฉียบคม.
 " ความลำเอียง ๔  อย่างนี้พึงให้ไกลห่างจากจิตใจ "
         ฉันทาคติ: ลำเอียงเพราะรักหรือมีอามิสสิ่งจูงใจ
         โทสาคติ:  ลำเอียงเพราะโกรธพยาบาท หรือเกลียดชัง
         โมหาคติ:  ลำเอียงเพราะไม่รู้จริง หรือหูเบา
         ภยาคติ :   ลำเอียงเพราะเกรงกลัวอำนาจ หรืออิทธิพลต่างๆ
๒.ทาน : คือการให้นั้นหมายถึง การแบ่งปันให้ทรัพย์สิ่งของ เพื่ออนุเคราะห์สงเคราะห์ผู้อื่นด้วยจิตเมตตา ปรารถนาที่จะให้ผู้รับอยู่ดีมีสุข หรือกรุณาธรรมปรารถนาที่จะให้ผู้ประสบความทุกข์เดือดร้อนให้พ้นทุกข์  "ยังมีทานที่สูงยิ่งขึ้นไปอีกคือ "อภัยทาน"บุญอันเลิศย่อมเจริญแก่บุคคลอันเลิศ อายุวรรณะ ยศเกียรติสุข และกำลังอันเลิศก็เจริญด้วย

๓. ศีล: คือการสำรวมระวังกายวาจาให้เรียบร้อยดีไม่มีโทษ คือการเจตนางดเว้น จากความประพฤติปฏิบัติ ที่เป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ให้เดือดร้อนเสียหาย  " ศีลนั้นป็นข้อห้ามส่วนธรรมนั้นเป็นข้อปฏิบัติ "สำหรับฆราวาสผู้ครองเรือนนั้นให้ถือ เบญจศีลคือศีล๕ เป็นขั้นพื้นฐาน
๑.ปาณาติปาตา เวรมณีสิขาปะทัง สะมาทิยามิ,ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต๑
๒.อทินนาทานา เวรมณีสิขาปะทัง สะมาทิยามิ,ห้ามลักฉ้อโกงหรือคดโกง ๑ 
๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณีสิขาปะทัง สะมาทิยามิ,ห้ามประพฤติผิดในกาม ๑.
๔. มุสาวาทา  เวรมณีสิขาปะทัง สะมาทิยามิ, ห้ามพุดปดพูดเพ้อเจ้อ
๕. สุราเมระยะมัชปะมาทัฏฐานา เวรมณีสิขาปะทัง สะมาทิยามิ, ห้ามเสพสุราและสิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษ เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑.
" ศีล ๕ ต้องถือคู่กับเบญจกัลยาธรรม " คือข้อปฏิบัติอันเป็นคุณธรรมของคนดี ๕ข้อ  มีดังต่อไปนี้
๑.ความเป็นผู้มีเมตตากรุณาธรรมต่อผู้อื่น ไม่คิดประหัตถ์ประหารกันคู่กับศีลข้อที่๑
๒. การให้ทานและประกอบสัมมาอาชีวะ คู่กับศีลข้อที่๒
๓. ความสันโดษในคู่ครองของตน  คู่กับศีลข้อที่๓
๔. การกล่าวแต่วาจาที่เป็นจริง คู่กับศีลข้อที่๔
๕. การมีสติสัมปชัญยะรู้ผิดชอบชั่วดี รู้บาป-บุญ รู้คุณ-โทษ รู้ทางเจริญ-ทางเสื่อม แห่งชีวิตตามที่เป็นจริง....

ผู้มีศรัทธา หมายถึง   เป็นผู้รู้จักศรัทธาบุคคล และรู้ข้อปฏิติที่ควรศรัทธา ไม่ลุ่มหลงงมงาย ในที่ตั้งแห่งความลุ่มหลง คือรู้จักศรัทธาใน บุคคลดี ผู้ทรงศีล ทรงธรรม เป็นสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบ ในความจริงแท้๔ประการ คือ ความสจริงแท้ในเรื่องของทุกข์๑,  เหตแห่งทุกข์๑, สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตดับ คือมรรคผลนิพพานที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ และที่เป็นบรมสุขอย่างถาวร๑,ความจริงแท้ในทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์๑, และรู้จักศรัทธาในข้อปฏิบัติที่ควรศรัทธา  คือข้อปฏิบัติที่ดีที่ชอบได้แก่ศีล๕. และคุณธรรม๕ประการ คือรู้จักศรัทธาใณพระพุทธ  คุณพระธรรม  คุณพระสงฆ์  และผู้ทรงศีลทรงธรรม  เป็นสัมมาทิฏฐิเป็นผู้ไม่หลงงมงายในที่ตั้งแห่งความหลง.

ธรรมมีอุปการะมาก ๒อย่าง :
๑.สติ: ความระลึกได้ ช่วยให้บุคคลไม่ประมาทเลินเล่อเผลอตัว
๒.สัมปชัญญะ: ความรู้ตัว ช่วยเตือนบุคคลให้รู้สึกในการประพฤติปฏิบัติสุ่ลู่ทางที่ดีที่ชอบ ถูกต้องไม่เสียหาย ตั้งมั่นอยู่ในคุณงามความดี
ธรรมเป็นโลกบาลคือธรรม๒อย่าง
๑.หิริ : ความละอายแก่ใจในอันจะประพฤติความชั่งทั้งปวง
๒.โอตัปปะ : คือความเกรงกลัวต่อบาปทุจริต อันจะเกิดจากการประพฤติชั่วทั้งปวง บุคคลผู้มีหิริโอตัปปะ ย่อมทำให้สังคมสงบสุข ปราศการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น